ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8888/2559 ระหว่างบริษัทโออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ร้อง และนายสายยนต์ กัณหา ผู้คัดค้าน
การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทำการจูงใจให้ลูกจ้างของผู้ร้องให้ไม่ทำงานล่วงเวลาในวันที่ 9 และวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น แม้การทำงานล่วงเวลาจะเป็นไปตามความสมัครใจของลูกจ้างของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ความสมัครใจนั้นต้องมิได้เกิดจากการชักจูงของบุคคลใด
การที่ผู้คัดค้านจูงใจลูกจ้างของผู้ร้องไม่ให้ทำงานล่วงเวลาจึงเป็นการแทรกแซงอำนาจในการตัดสินใจของลูกจ้างผู้ร้องเพื่อมิให้ทำงานล่วงเวลาแก่ผู้ร้อง การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการต่อต้านอำนาจบังคับบัญชาของผู้ร้อง อันถือว่าผู้คัดค้านกระทำการอันเป็นปรปักษ์ต่อผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและเป็นการประพฤติตนอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า นายสายยนต์ กรรมการลูกจ้าง ผู้คัดค้านใช้อิทธิพลข่มขู่บังคับลูกจ้างผู้ร้องไม่ให้ทำงานล่วงเวลาในวันที่ 9 ถึงวันที่ 10 กันยายน 2552 เป็นเหตุให้ผู้ร้องเสียหาย ขอให้ศาลอนุญาตผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า จากข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นยุติว่า ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างของผู้ร้องในวันที่ 9 และวันที่ 10 กันยายน 2556 ลูกจ้างในโรงงานของผู้ร้องส่วนใหญ่ไม่ทำงานล่วงเวลาเนื่องจากผู้ร้องย้ายนายสุชาติ ประธานสหภาพแรงงานโออิชิ นวนคร ให้ไปทำงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้คัดค้านมีส่วนในการจูงใจลูกจ้างผู้ร้องไม่ทำงานล่วงเวลา แต่มิได้ข่มขู่ลูกจ้าง แล้ววินิจฉัยว่าการกระทำผู้คัดค้านจึงไม่ร้ายแรงถึงขนาดเป็นเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีเหตุสมควรเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่
เห็นว่า การที่ผู้คัดค้านทำการจูงใจให้ลูกจ้างของผู้ร้องให้ไม่ทำงานล่วงเวลาในวันที่ 9 และวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น แม้การทำงานล่วงเวลาจะเป็นไปตามความสมัครใจของลูกจ้างของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่งก็ตาม
แต่ความสมัครใจนั้นต้องมิได้เกิดจากการชักจูงของบุคคลใด การที่ผู้คัดค้านจูงใจลูกจ้างของผู้ร้องไม่ให้ทำงานล่วงเวลา จึงเป็นการแทรกแซงอำนาจในการตัดสินใจของลูกจ้างผู้ร้องเพื่อมิให้ทำงานล่วงเวลาแก่ผู้ร้อง
การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการต่อต้านอำนาจบังคับบัญชาของผู้ร้อง อันถือว่าผู้คัดค้านกระทำการอันเป็นปรปักษ์ต่อผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและเป็นการประพฤติตนอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
ผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าการกระทำของผู้คัดค้านไม่ถึงขนาดเป็นเหตุให้เลิกจ้างนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังขึ้น
พิพากษากลับเป็นว่า อนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
(ภาวนา สุคันธวณิช-วิชัย เอื้ออังคณากุล-ปกรณ์ สุวรรณพรหมา)
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...