ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ใบแถลงข่าว
“สถานการณ์การเลิกจ้างคนงานกับข้อจำกัดของกระบวนการยุติธรรมที่ยังรอการปฎิรูป”
วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2560 เวลา 11.00–11.20 น.
ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ มักกะสัน กรุงเทพมหานคร
แถลงโดยฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)
นับเป็นเวลา 4 ปีกว่าที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายกฎหมายขึ้นมาอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 พบว่าระหว่างปี 2558-2560 ฝ่ายกฎหมาย คสรท. ได้มีการช่วยเหลือดำเนินคดีความทางกฎหมายให้ลูกจ้างทั้งสิ้น 647 คน รวม 70 กรณี ทั้งที่เป็นสมาชิก คสรท.และไม่ได้เป็นสมาชิก ในคดีแรงงาน คดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง (ปี 2556-57 มีทนายเพียงคนเดียวในการดำเนินการจึงไม่มีการบันทึกจำนวนคดีอย่างละเอียด)
โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรสมาชิกใน คสรท.โดยตรงจำนวน 240,550 บาท หรือเฉลี่ยคดีละ 3,436.50 บาท จากปกติอัตราค่าจ้างทนายอย่างน้อย 15,000 บาท/คดี
จำแนกเป็น
มีรายละเอียดเรียงตามลำดับจำนวนข้อหา 24 ข้อหา ดังนี้
แม้ว่าโดยเจตนารมณ์สูงสุดของศาลแรงงาน คือ การยึดหลักให้นายจ้างลูกจ้างทำงานร่วมกันได้อย่างสันติสุขและเป็นธรรม การพิจารณาคดีแรงงานจึงใช้ระบบไต่สวน โดยศาลจะเป็นผู้สืบเสาะหาข้อเท็จจริงเอง รวมทั้งสามารถเรียกบุคคลหรือเอกสารต่างๆเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและพิพากษาไปตามรูปคดี โดยมีผู้พิพากษา 3 คนเป็นองค์คณะ ประกอบด้วยผู้พิพากษากลาง (เจ้าของสำนวน) ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง เน้นใช้ระบบไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้ตลอดระยะเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
อย่างไรก็ตามกลับพบปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการยุติธรรมที่ยังต้องมีการปฏิรูปต่อไป รวม 10 ประการ ได้แก่
1. การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องยุ่งยาก มีหลายขั้นตอนในทางคดี ซึ่งแต่ละขั้นตอนทางศาลแรงงานล้วนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง และนายจ้างมักใช้ข้อเสียเปรียบนี้มาต่อรองกับลูกจ้าง
2. ผู้พิพากษามาจากกระบวนการยุติธรรมปกติ จึงไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องแรงงาน และนำเอาทัศนคติหรือวิธีการปฏิบัติแบบเดิมที่เชื่อว่าลูกจ้างและนายจ้างมีสถานะเท่ากันในการพิจารณาทางคดี ศาลมีหน้าที่รับฟังผ่านข้อมูลต่างๆ จึงขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายใดจะหาข้อมูลได้มากกว่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงก็พบชัดเจนว่านายจ้างกับลูกจ้างไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาได้เท่าเทียมกันโดยพื้นฐานอยู่แล้ว มีลูกจ้างจำนวนมากไม่สามารถจ้างทนายความได้ หรือว่าไม่อาจนำสืบพยานหลักฐานที่สมบูรณ์ให้สามารถได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนต่อสู้คดีได้เต็มที่
ทั้งที่เจตนารมณ์ของการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มีที่มาจากการที่คดีแรงงานเป็นคดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ที่เกิดจากความไม่เป็นธรรมในเรื่องค่าจ้าง สวัสดิการ และอื่นๆ ดังนั้นทำอย่างไรที่จะให้ลูกจ้างได้รับความเป็นธรรม ดังนั้นผู้พิพากษาต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญความเข้าใจในเรื่องแรงงาน กฎหมายและวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นสำคัญ
3. ผู้พิพากษา 3 คนที่เป็นองค์คณะ มีสถานะไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะตัวแทนของฝ่ายลูกจ้างนั้นพบว่า บางคนยังไม่สามารถเป็นตัวแทนลูกจ้างที่สามารถรักษาผลประโยชน์ของลูกจ้างได้จริง และยังขาดความรู้ทางกฎหมายด้านแรงงานที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง
4. แนวโน้มของการไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้น บางครั้งขัดแย้งกับสิทธิแรงงาน ไม่คำนึงเรื่องข้อเท็จจริง เช่น ค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้ไม่ได้สัดส่วนกับความเสียหายที่ลูกจ้างได้รับจากการถูกเลิกจ้าง เพราะผู้ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยในศาลแรงงาน จำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความเข้าใจต่อปัญหาแรงงาน ไม่มีความเป็นมืออาชีพ การไกล่เกลี่ยจึงเป็นไปในลักษณะให้คดีจบโดยไว และเป็นไปในลักษณะคดีแพ่งหรือเรื่องระหว่างบุคคลเท่านั้น ขาดการมองในเชิงความมั่นคงและศักดิ์ศรีของมนุษย์
5. ศาลมักจะให้มีการประนีประนอมยอมความซึ่งไม่เป็นผลดีต่อลูกจ้าง เพื่อลดจำนวนคดีที่จะต้องพิจารณา มีคำตอบชัดเจนตั้งแต่ในชั้นไกล่เกลี่ยว่าควรจะดำเนินไปในทิศทางใดเมื่อเข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาล ทำให้ในบางกรณีเมื่อลูกจ้างไม่แม่นข้อกฎหมาย จึงเลือกที่จะยอมความให้คดีจบไป ขณะเดียวกันมีจำนวนไม่น้อยที่ศาลได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้าง ที่ถูกเลิกจ้างอย่างผิดกฎหมายกลับเข้าทำงาน แต่นายจ้างก็มักจะเสนอเงินชดเชยจำนวนมากเพื่อเลี่ยงการรับกลับเข้าทำงานแทน (ส่วนใหญ่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานที่มีบทบาท) และศาลก็มักจะดำเนินตามขนบดังกล่าวนี้ มากกว่าเน้นเรื่องการปรับทัศนคติให้อยู่ร่วมกันได้ดี กลับมองในเรื่องการอยู่ด้วยกันไม่ได้และลูกจ้างได้ค่าชดเชยและค่าเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเพียงพอแล้ว
6. คำพิพากษาศาลฎีกามีแนวโน้มที่จะนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้กับคดีแรงงานอย่างเคร่งครัด แทนที่จะนำมาใช้โดยอนุโลม ทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานไม่แตกต่างจากการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเท่าใดนัก นอกจากนี้ประสิทธิภาพในการระงับข้อพิพาทแรงงานก่อนคดีสู่ศาลยังมีน้อย ทำให้ศาลแรงงานต้องพิจารณาพิพากษาคดีมากเกินไป และส่งผลโดยตรงต่อความรวดเร็วแห่งคดี
7. คดีแรงงานมีความล่าช้ามาก ในศาลแรงงานภาคบางแห่งเลื่อนคดีแต่ละครั้ง ราว 3 เดือน หรือในช่วงที่โยกกย้ายผู้พิพากษา กว่าจะมีผู้พิพากษาใหม่มาปฏิบัติหน้าที่ ก็ใช้ระยะเวลาหลายเดือน ผู้พิพากษาที่เหลืออยู่น้อยจึงต้องทำงานหนักมากหรือไม่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คดีล่าช้า
8. คดีแรงงานที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ฎีกา กำหนดว่าการฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ยิ่งทำให้เป็นข้อจำกัดของลูกจ้างในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มากยิ่งขึ้น แม้มีศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงาน ก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาปริมาณคดีแรงงานที่ค้างอยู่เป็นจำนวนมากในศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน แต่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่แท้จริงและยังเป็นการเพิ่มศาลอุทธรณ์อีกชั้นหนึ่ง ต่างจากหลักการและเจตนารมณ์เดิมของการจัดตั้งศาลแรงงาน
9. มีการอ้างหรือใช้ประเด็นทางอาญาเพื่อต่อรองในเรื่องทางแรงงานกับผู้นำแรงงาน ทำให้เป็นภาระแก่ลูกจ้างอย่างมากในการต่อสู้คดี และไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องการประกันตัว เช่น นายจ้างเสนอว่าถ้าไม่ลาออกจะดำเนินคดีอาญา หรือถ้ายอมลาออกจะถอนแจ้งความหรือถอนฟ้องคดีอาญา
10. ในความเป็นจริงศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอได้ อีกทั้งผู้พิพากษาก็สามารถสั่งให้มีผลผูกพันกับคู่ความได้ ทั้งนี้มีคำพิพากษาฎีกา 9139/2553 วางบรรทัดฐานไว้ว่า “ศาลแรงงานมีคำสั่งหรือพิพากษาเกินคำขอได้ หากเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ” ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้" แต่ในทางปฏิบัติผู้พิพากษาจะพิพากษาตามคำร้องหรือคำฟ้องที่ลูกจ้างเป็นผู้ฟ้องมา ซึ่งในหลายกรณีพบว่ามีลูกจ้างจำนวนมากที่ไม่รู้ประเด็นทางกฎหมายว่ามีสิทธิฟ้องร้องว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง จึงทำให้สิทธิที่ควรจะรับตกหล่นไป
ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถเป็นพื้นที่ที่สำคัญที่สุดพื้นที่หนึ่งของผู้ไร้อำนาจให้สามารถเข้าถึงสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานเพื่อปลดล็อคปัญหาที่กล่าวมาทั้ง 10 ประการ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสุดท้ายแล้ว การทำหน้าที่ของศาลไม่ใช่แค่การพิพากษาตามตัวบทกฎหมายเท่านั้น แต่ตัวคำพิพากษาของศาลเองก็เป็นกฎหมายในตัวมันเอง ที่วางบรรทัดฐานแนวปฏิบัติให้ปฏิบัติต่อไปในอนาคตเช่นเดียวกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “Judges make law”
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...