ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
วันนี้ (12 ธ.ค.2560) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นำเสนอสถานการณ์การเลิกจ้างแรงงานตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ในการแถลงผลงานฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกับการช่วยเหลือคนงานให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หลังพบว่ามีแรงงานจำนวนมาก ไม่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองตามตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยยกตัวอย่างการฟ้องร้องคดีความที่ถูกนายจ้างบริษัทเอกชนเลิกจ้าง ซึ่งยุติลงในกระบวนการยุติธรรมเพียงชั้นไกล่เกลี่ย รับเงินชดเชยในหลักแสนบาท แต่ไม่ได้กลับเข้าทำงานอย่างที่หวัง เพื่อให้เห็นการเลิกจ้างคนงานที่ไม่เป็นธรรม และสะท้อนปัญหาจากกระบวนการยุติธรรมในคดีแรงงาน ที่ลูกจ้างเข้าไม่ถึงการคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ซึ่งตั้งแต่ ปี 2558-2560 ฝ่ายกฎหมายของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ช่วยเหลือดำเนินคดีความทางกฎหมายให้แรงงาน 647 คน รวม 70 กรณี โดยเป็นกรณีเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยสูงสุด 40 กรณี
ทั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ยังเสนอให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 10 ประการ โดยเฉพาะระบบไต่สวนของศาลแรงงาน ที่ผู้พิพากษาควรมีความเชี่ยวชาญเรื่องแรงงานเพื่อไม่ให้แรงงานเสียสิทธิ รวมทั้งเลี่ยงการใช้วิธีไกล่เกลี่ย มากกว่าสืบคดีพิจารณาในชั้นศาล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อลูกจ้าง
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...