ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เคาะแล้วเลือกตั้งท้องถิ่น ยังไงก็ต้องกลางปี -13 ม.ค. 2561 MGR Online

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ขณะที่การเลือกตั้งระดับชาติยังมีคำถามอยู่ว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2561 นี้ หรือไม่ แต่การเลือกตั้งท้องถิ่น เริ่มมีความชัดเจนแล้วว่า จะมีขึ้นในราวกลางปีนี้อย่างแน่นอน

แม้ว่าก่อนหน้านี้ ยังเป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ชุดรักษาการในปัจจุบัน จะมีอำนาจจัดการเลือกตั้งได้หรือไม่ หากการสรรหา กกต.ชุดใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ

รวมทั้ง จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีก 6 ฉบับ ให้สดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2560 และแนวทางการปฏิรูปการเมือง ประกอบด้วย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 , พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 (อบต.) , พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 (อบจ.) ,พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 , พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม. พ.ศ. 2528 และ พ.ร.บ.บริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาแย้มนิดๆ ว่ามีความเป็นไปได้ที่การเลือกตั้งท้องถิ่นจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปีนี้

ส่วนความคืบหน้าในการแก้ไขำหมายที่เกี่ยวข้อง 6 ฉบับนั้น นายวิษณุบอกว่า การปรับแก้ไขที่กฤษฎีกาทำไว้นั้นเป็นการปรับในเรื่องคุณสมบัติผู้สมัครให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ กกต.พบประเด็นแก้ไข 30-40 ประเด็น จึงต้องรอฟังที่ประชุมของ กกต.ก่อน เมื่อส่งมาแล้วจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และจะส่งให้กฤษฎีกาปรับแก้ประเด็นต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานและจะนำเข้า ครม.อีกครั้งก่อนที่จะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา คาดว่าจะเป็นช่วงเดือน ก.พ. เมื่อ สนช.พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เป็นเรื่องที่คณะรั กษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะพิจารณาว่าจะให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นประเภทใด ระดับใด เมื่อใด ซึ่งการเลือกตั้งท้องถิ่นสามารถจัดเลือกตั้งได้หลังกฎหมายประกาศใช้ประมาณ 45-60 วัน ไม่เหมือนเลือกตั้งระดับชาติที่ใช้เวลาภายใน 5 เดือน

นายวิษณุบอกอีกว่า ไม่อยากให้การเลือกตั้งท้องถิ่นกระชั้นชิดกับการเลือกตั้งระดับชาติ หากแบ่งได้ก็อาจเลือกตั้งบางอย่างก่อน และเวลานี้รัฐบาลกำลังคลี่คลายการตรวจสอบผู้บริหารท้องถิ่นที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบตามคำสั่งที่ออกฏกยมาตรา 44 ว่าใครควรจะให้กลับคืนสู่ตำแหน่งเพื่อให้กลับสู่ระบบเลือกตั้ง

ขณะที่ความเคลื่อนไหวจาก กกต.ล่าสุด วันที่ 9 มกราคม ที่ประชุม กกต.มีมติว่าจะขอศึกษาในเนื้อหาของร่างกฎหมายการเลือกตั้งท้องถิ่นที่สำนักงาน กกต.เสนอมาก่อน และจะพิจารณาในการประชุม กกต.วันที่ 16 มกราคมนี้ พร้อมให้สำนักงาน กกต.จัดทำตารางเวลากรณีต้องนำร่างกฎหมายดังกล่าวไปจัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 77 กำหนด รวม 15 วัน และระยะเวลาการพิจารณาของ กกต. การเสนอร่างกฎหมายไปยังรัฐบาลมาให้ที่ประชุม กกต.พิจารณาในวันดังกล่าวด้วย 

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ... ที่สำนักงาน กกต.ได้ยกร่างขึ้นนั้นมีทั้งสิ้น 68 มาตรา เนื้อหาหลักเป็นการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ใน 4 ประเด็น คือ 

1. แก้ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2560 เกี่ยวกับอำนาจของ กกต. เช่น อำนาจในการสั่งเลือกตั้งใหม่ที่สั่งได้ก่อนการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง การสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เพิกถอนสิทธิสมัครเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ทั้งก่อนและหลังประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง

2. แก้ไขให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วย กกต. เช่น การมีผู้ตรวจการเลือกตั้ง แทน กกต. จังหวัด โดยเขียนเปิดช่องให้เป็นอำนาจของ กกต. ที่จะพิจารณาว่าในการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้นๆ จะตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งหรือไม่ก็ได้ 

3.แก้ไขให้สอดคล้องกับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในเรื่องมาตรฐานการจัดการ เช่น ระยะเวลาการลงคะแนนเลือกตั้งเป็น 08.00 - 16.00 น. ระยะเวลาการหาเสียงเลือกตั้ง การที่รัฐจะต้องเป็นผู้จัดสถานที่ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งปิดป้ายหาเสียง
4. แก้ไขปัญหาการบริหารงานท้องถิ่นที่ผ่านมา เช่น การที่ผู้บริหารท้องถิ่นชิงความได้เปรียบด้วยการลาออกก่อนครบวาระ โดยแก้ไขให้ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นมีวาระเท่ากัน ซึ่งถ้าบริหารงานไปแล้วผู้บริหารลาออกก่อน หากวาระของสภาท้องถิ่นเหลือน้อยกว่า 180 วันก็ไม่ต้องมีการเลือกผู้บริหาร แต่ให้ปลัดท้องถิ่นนั้นๆ ทำหน้าที่รักษาการไปจนกว่าสภาท้องถิ่นจะครบวาระ แต่หากระยะเวลาสภาท้องถิ่นเหลือเกินกว่า 180 วัน ให้ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาใหม่ ดำรงตำแหน่งได้เท่าวาระของสภาท้องถิ่นที่เหลืออยู่ 

สำนักงาน กกต.คาดว่า หลังที่ประชุม กกต.ได้มีการพิจารณาและมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวในการประชุมวันที่ 16 มกราคม แล้ว ไม่เกินวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ทางสำนักงานจะมีการจัดส่งร่างกฎหมายให้กับสำนักงาน กกต.จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อส่งต่อไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในพื้นที่ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน เพื่อรับฟังความคิดเห็น จากนั้นไม่เกิน 13 กุมภาพันธ์ ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นและสรุปผลการรับฟังเพื่อเสนอ กกต.โดยในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ จะมีการรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ที่ประชุม กกต.ได้รับทราบ และคาดการณ์ว่า ไม่เกินวันที่ 23 กุมภาพันธ์จะมีการส่งร่างกฎหมายดังกล่าวพร้อมกับผลการรับฟังความคิดเห็นให้กับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป 

ทั้งนี้ หากพิจารณาขั้นตอน หลังจาก กกต.ส่งร่างกฎหมายไปยัง ครม.ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์แล้ว และ ครม.พิจารณาในการประชุม ครม.นัดถัดไป คือ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ จากนั้นส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำการตรวจสอบ คาดว่า จะแล้วเสร็จช่วงกลางเดือนมีนาคม ก่อนส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ใช้เวลารวม 60 วัน และขั้นตอนทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ น่าจะเสร็จสิ้นได้ในเดอนพฤษภาคม

ขณะเดียวกัน ร่างกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ที่รัฐบาลแก้ไขเสร็จแล้ว จะมีการทยอยพิจารณาควบคู่ไป ดังนั้น การเลือกผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งอาจจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ภายในเดือนมิถุนายน 2561 นี้

ขณะที่ นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช.คนที่ 2 เปิดเผยออกมาว่า ในวันที่ 15 มกราคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่าง สนช.และรัฐบาล จะมีการหารือกันถึงการพิจารณาร่างกฎหมายการเลือกตั้งท้องถิ่น หากมีผลสรุปแล้วก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการวิสามัญกิจการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) เพื่อบรรจุเข้าระเบียบวาระเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ สนช.ต่อไป

สำหรับประเด็นที่จะแก้ไขนั้น นายพีระศักดิ์บอกว่า เท่าที่ตนทราบน่าจะเป็นเรื่องคุณสมบัติของผู้ที่จะมาสมัครเท่านั้น ไม่ได้มีการแก้ไขอะไรมากมาย ดังนั้น หากเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ก็คาดว่าจะใช้เวลาการพิจารณาไม่มาก เนื่องจาก สนช.ได้มีคณะกรรมการที่ศึกษาเรื่องนี้ไว้แล้ว และจะต้องเป็นไปตามกรอบเวลาที่รัฐบาลกำหนดว่าจะให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นกลางปี 2561

ส่วนผู้บริหารท้องถิ่นที่ถูกสอบสวนตามคำสั่งมาตรา 44 อยู่ นายพีระศักดิ์กล่าวว่า โดยหลักการคงไม่โดนตัดสิทธิลงเลือกตั้ง และทาง คสช.ก็ได้เร่งให้มีการพิจารณาคดี ให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง

ก็เป็นอันว่า ณ เวลานี้ คงไม่มีอุปสรรคอะไรที่จะมาขวางกั้นการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะต้องมีขึ้นก่อนการเลือกตั้งระดับชาติให้ได้

นัยว่า ที่ต้องทำเช่นนี้ มีสาเหตุสำคัญก็คือ การเลือกตั้งท้องถิ่นจะเป็นตัววัดเรตติ้งของ คสช.ได้เป็นอย่างดี

ผลการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ออกมาก่อน จะช่วยให้ คสช.วางหมากเกม จัดการเลือกตั้งระดับชาติที่จะเกิดภายหลัง ให้มีผลออกมาตามที่ คสช.ต้องการได้ง่ายขึ้น



16/Jan/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา