ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
วันที่ 17 มกราคม นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 ครั้งที่ 2/2561 ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร กระทรวงแรงงาน โดยเป็นการประชุมเพื่อหารือประเด็น การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ทั้งนี้ หลังการประชุมนานกว่า 7 ชั่วโมง ข้อสรุปอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 มีทั้งหมด 7 อัตรา คือ ตั้งแต่ 8-20 บาท
โดยมี 3 จังหวัด ได้ขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 330 บาท/วัน ได้แก่ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง
และมี 7 จังหวัด ได้ขึ้น เป็น 325 บาท ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา
จังหวัดที่ได้เพิ่มเป็น 320 บาท มี 14 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี สระบุรี อยุธยา หนองคาย ลพบุรี ตราด ขอนแก่น สงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่ เชียงใหม่ นครราชสีมา และพังงา
จังหวัดที่ได้ขึ้นเป็น 318 บาท มี 7 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี สมุทรสงคราม สกลนคร มุกดาหาร นครนายก กาฬสินธุ์ และปราจีนบุรี
ส่วนจังหวัดที่ได้ขึ้นเป็น 315 บาท มี 21 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สระแก้ว พัทลุง อุตรดิตถ์ อุดรธานี นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ เพชรบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยนาท เลย ยโสธร พะเยา บึงกาฬ น่าน กาญจนบุรี และอ่างทอง
จังหวัดที่ได้ขึ้นเป็น 310 บาท มี 22 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี นครศรีธรรมราช ตรัง แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เชียงราย สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ศรีสะเกษ ตาก ชัยภูมิ อำนาจเจริญ แพร่ ราชบุรี ระนอง มหาสารคาม ชุมพร หนองบัวลำภู และสตูล
ขณะที่ จังหวัดที่ได้ขึ้นเป็น 308 บาท ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี
ค่าแรงใหม่มีผล 1 เม.ย.- หารือลดหย่อนภาษีอีกครั้ง
ต่อมาเวลา 22.45 น. นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการการประชุมดังกล่าว แถลงผลการประชุม ว่า มีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบ่งออกเป็น 7 ระดับ ไล่ตั้งแต่ 308, 310, 315, 318, 320, 325 และ สูงสุด 330 บาทตามลำดับ
โดยที่ประชุมมีข้อตกลงร่วมกัน เกี่ยวกับการพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ และความสามารถในการแข่งขัน
โดยจังหวัดที่ได้ค่าแรงสูงสุดมี 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต ชลบุรี และระยอง คือ 330 บาท
ส่วนจังหวัดที่ได้อัตราค่าจ้างน้อยที่สุดในรอบนี้คือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ขณะที่ กทม. และปริมณฑล อยู่ที่ 325 บาท
ค่าเฉลี่ยของค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 315.97 บาท
ซึ่งการประกาศค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้จะมีผลวันที่ 1 เมษายน 2561 โดยไม่มีผลย้อนหลังแต่อย่างใด
นอกจากนี้ นายจักรินทร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในที่ประชุมครั้งนี้ได้มีการเสนอข้อเสนอเพิ่มเติม 3 เรื่อง ด้วยกัน คือ
1. กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมีการกำหนดโครงสร้างเงินเดือน เพื่อให้ลูกจ้างเห็นอนาคต และเป็นหลักประกันในเรื่องอัตราค่าจ้างที่จะมีการขึ้นทุกปี
2.กำหนดอัตราค่าจ้างแบบลอยตัวให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ประกอบการในพื้นที่ โดยจะมีการนำร่องในจังหวัดเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งจะทำให้สถานประกอบการได้แรงงานฝีมือที่ต้องการ ในทางหนึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะจ้างในอัตราที่สูง
และ 3. การกำหนดมาตรการลดหย่อนภาษีของผู้ประกอบการที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น ให้สามารถนำเงินดังกล่าวมาลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า
โดยข้อเสนอดังกล่าว ยังต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการค่าจ้างอีกครั้ง ซึ่งจะต้องใช้คณะกรรมการฯ ชุดใหม่ เนื่องจากคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 หมดวาระแล้ว
อย่างไรกตาม ก่อนหน้านี้ พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเมื่อได้ข้อยุติ วันที่ 17 ม.ค. แล้ว จากนั้นจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์ถัดไปวันที่ 23 ม.ค. 2561 ก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ พลตำรวจเอกอดุลย์ กล่าวว่า ได้ให้นโยบายบอร์ดไตรภาคีว่า ให้พิจารณาโดยยึดหลักความเป็นธรรม ให้ลูกจ้างมีรายได้สำหรับการครองชีพเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้างอยู่ได้ เกณฑ์การพิจารณาค่าแรง จะมาจากกรอบของแต่ละจังหวัด ที่คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเสนอ โดยพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ และอัตราการเติบโต ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการหดตัวทางเศรษฐกิจด้วย รวมทั้งจะทำตามกรอบนโยบายของรัฐบาล คือลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และนายจ้างสามารถประกอบธุรกิจได้ ขยายกิจการได้ โดยจะเป็นการปรับขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เท่ากัน ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยยึดฐานอัตราค่าแรงเดิมของแต่ละพื้นที่ ไม่ใช่ปรับอัตราค่าจ้างเป็นอัตราเดียวเท่ากันทั้งประเทศ
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...