ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2557 เป็นต้นไป แรงงานที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และเกษียณอายุ 55 ปี ซึ่งก็คือความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง แรงงานคนนี้จะมีโอกาสได้รับบำนาญชราภาพเสียที!!!! หลังจากที่ตนเองได้สะสมเงินมาจนครบ 15 ปีแล้ว หรือ 180 เดือน
แต่อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะเมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง การใช้สิทธิในเรื่องการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และตาย กฎหมายประกันสังคมจะให้สิทธิหลังการเกษียณอีก 6 เดือนเพียงเท่านั้น จากนั้นต้องไปใช้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคแทน
อีกทั้งต้องขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปีนับจากวันที่ได้รับสิทธินี้
เงินนี้มาจากไหน
เงินนี้มาจากการหักเงินรายได้ของผู้ประกันตนจำนวน 5 % ทุกเดือน (คำนวณจากรายได้สูงสุดเพียง 15,000 บาทเท่านั้น ถึงพี่น้องแรงงานจะเงินเดือน 2-5 หมื่น สำนักงานประกันสังคมก็คำนวณเพียง 15,000 บาทเท่านั้น) โดยเงินจำนวนดังกล่าว จะถูกหักเป็นเงินออมชราภาพ 3 % และเป็นส่วนของนายจ้างที่สมทบให้อีก 3 % ซึ่งรวมเป็น 6 % และได้สะสมมานับตั้งแต่กองทุนชราภาพมีผลบังคับใช้ ก็คือ เมื่อเดือนมกราคม 2542 เป็นต้นมานั่นเอง
กล่าวโดยง่ายคือ ถ้าเราเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท เราจะมีเงินสะสมชราภาพเดือนละ 900 บาท คือ เงินจากเราเอง 450 บาท และเงินจากนายจ้าง 450 บาท ในส่วนนี้รัฐไม่ได้สมทบ เป็นเพียงเงินเราและเงินนายจ้างเท่านั้น
เราจะได้รับเงินบำนาญเท่าใด
ต้องจัดกลุ่มก่อนว่า เราอยู่ในกลุ่มใด ณ เดือนมกราคม 2557 แยกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
(1) ส่งเงินไม่ครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี แต่อายุครบ 55 ปีแล้ว และเกษียณอายุแล้ว
ในกลุ่มนี้จะได้รับเป็นเงินก้อนหรือ "เงินบำเหน็จชราภาพ" โดยได้รับในส่วนเงินสมทบที่สะสมมาทั้งในของตนเองและนายจ้างพร้อมดอกผล สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับในส่วนนี้ ต้อง check ที่ www.sso.go.th ก็จะบอกยอดเงินให้ทราบ เพราะมันจะมีผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นดอกผลเอามาคำนวณร่วมด้วย
แต่ถ้าสะสมไม่ถึง 12 เดือน หรือ 1 ปี และต้องเกษียณอายุ ก็จะได้เงินสมทบในส่วนของตนเองเท่านั้น และในกรณีที่ผู้กระกันตนเสียชีวิตเงินบำเหน็จจะตกเป็นของทายาทผู้รับมรดก
เช่น ผู้ประกันตนได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ทำงานมา 12 เดือน ได้ถูกหักเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง ก็คือเท่ากับเดือนละ 500 บาท เงิน 500 บาทนี้ จะถูกแยกเป็น 3 กอง คือ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย 1.5% = 225 บาท กรณีว่างงาน 0.50% = 75 บาท และกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ 3% = 450 บาท
ดังนั้นผู้ประกันตนจะได้รับบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 450 บาท x 12 เดือน = 5,400 บาท
(2) ส่งเงินครบ 180 เดือนแล้ว และอายุครบ 55 ปีแล้ว และเกษียณแล้ว
จะมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง
ค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย จะมาจากการนำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้ายมารวมกัน ได้ผลลัพธ์เท่าไหร่ แล้วหารด้วย 60
อย่างไรก็ตามสำหรับแรงงานที่มีค่าจ้างมากกว่า 15,000 บาท ให้ใช้ฐานที่ 15,000 บาทเลย ไม่จำเป็นต้องคำนวณค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
เช่น
แรงงานคนหนึ่งได้รับเงินเดือนตามจริง 30,000 บาทต่อเดือน แต่เวลาหักเงินประกันสังคมจะหักสูงสุดที่ 15,000 บาทเท่านั้น ดังนั้นเวลาคิดเงินคำนวณ คือ (15,000 บาท X 20) หาร 100 ก็เท่ากับ 3,000 บาท แปลว่า เราก็จะได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท ไปจนเสียชีวิต
แต่ถ้าสมมติคำนวณมาแล้วรายได้เฉลี่ยเพียง 10,000 บาท ดังนั้นเวลาคิดเงินคำนวณ คือ (10,000 X 20) หาร 100 ก็เท่ากับ 2,000 บาท แปลว่า เราก็จะได้รับเงินเดือนละ 2,000 บาท ไปจนเสียชีวิต
ทั้งนี้กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน เช่นบำนาญเดือนละ 3,000 บาท × 10 เท่า = 30,00 บาท
นอกจากนั้นแล้วผู้ประกันตนที่อายุครบ 55 ปี ลาออก รับเงินชราภาพแล้ว สามารถสมัครต่อตามมาตรา 39 หรือ 40 ได้ แต่ต้องอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันสมัคร
(3) ส่งเงินเกิน 180 เดือนแล้ว และอายุครบ 55 ปีแล้ว แต่ยังไม่เกษียณ
สำหรับผู้ประกันตนที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 3 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน
ยกตัวอย่างเช่น ปี 2557 แรงงานอายุ 55 ปี แต่ยังไม่เกษียณอายุ จะเกษียณก็เมื่ออายุ 60 ปีหรือก็คือปี 2562 ก็คืออีก 5 ปีข้างหน้า
ดังนั้นวิธีการคำนวณเงินบำนาญ ก็คือ
สำหรับคนที่เงินเดือนเกิน 15,000 บาท ก็ใช้ฐาน 15,000 บาท คือ
15,000 บาท x (20 + 7.5) โดย 7.5 มาจาก 1.5 X 5 ปี
ดังนั้นบำนาญที่ได้รับรายเดือนตลอดชีวิต คือ 15,000 x 27.5 หาร 100 = 4,125 บาท นั่นเอง
หรือถ้าเงินเดือนเฉลี่ยปี 2562 อยู่ที่ 10,000 บาท
ดังนั้นบำนาญที่ได้รับรายเดือนตลอดชีวิต คือ 10,000 x 27.5 หาร 100 = 2,750 บาท นั่นเอง
ทั้งนี้ถ้าผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปี แต่ยังไม่ได้ยื่นขอรับเงินชราภาพ ต่อมาผู้ประกันตนเสียชีวิต ให้ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ ซึ่งก็คือ ทายาท ได้แก่ บุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น, สามีหรือภริยา, บิดา มารดา
กรอกแบบหนังสือกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/2sps201.pdf และนำไปยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคม
อายุครบ 60 ปี ความเป็นผู้ประกันตนก็จะสิ้นสุดลงไปด้วย
มาตรา 33 ระบุว่า อายุผู้ประกันตน คือ 15-60 ปีเท่านั้น แม้ว่าท่านจะยังคงทำงานต่อ แต่นายจ้างไม่จำเป็นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนกับทางสำนักงาน ประกันสังคม แต่อย่างใด
ดังนั้นอันดับแรก ท่านต้องไปขอรับเงินบำนาญชราภาพก่อน ถ้าส่งครบ 15 ปี จะได้เงินรายเดือน สูงสุดเดือนละ 3,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น โดยกรอกตามแบบฟอร์มนี้และไปติดต่อสำนักงานประกันสังคมที่ท่านส่งเงิน http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s...
ให้ท่านนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน + สำเนาทะเบียนบ้าน + สำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือจะยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วนตามที่แจ้งไว้ข้างต้น
หลังจากนั้นสัก 2-3 เดือน เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา , สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา , พิจารณาสั่งจ่ายโดยโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของท่านทุกเดือน
แต่ถ้าไม่ครบ 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อน เรียกว่า บำเหน็จชราภาพ ท่านต้องเข้าเวบประกันสังคม http://www.sso.go.th/wpr/login.jsp จะคำนวณเงินที่ได้รับให้
อันดับ ที่ 2 ต่อมาภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ท่านเกษียณ ท่านจะสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนต่อได้ในมาตรา 39 แต่ต้องส่งเงินเองทั้งหมด รัฐไม่สบทบ สิทธิประโยชน์จะได้เหมือนเดิมตามมาตรา 33 ยกเว้นว่างงานเท่านั้น
โดยต้องกรอกใบสมัครตามนี้ http://www.sso.go.th/sites/default/files/25_2.zip แล้วไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมในจังหวัดที่ท่านทำงานอยู่ หลังจากนั้นต้องส่งเงินสมทบเอง เดือนละ 432 บาท โดยต้องส่งภายในวันที่15 ของเดือนถัดไป
หากขาดส่งเงินสบทบ 3 เดือนจะพ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 ทันที
วิธีการส่งเงินที่สะดวก คือ ให้หักบัญชีธนาคารกรุงไทย กรุงศรีอยุธยา นครหลวงไทย ไทยพาณิชย์ ก็ได้ หรือจะจ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7- ELEVEN ก็ได้ แต่จะมีค่าธรรมเนียม 10 บาทเพิ่ม
เขียนโดย : บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย 28 พฤศจิกายน 2556
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...