ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

นายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้างโดยประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ศาลแรงงานต้องพิจารณาไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการประเมินการปฏิบัติงานของบริษัทเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่ แล้ววินิจฉัยไปตามรูปคดี ไม่ใช่ด่วนยกฟ้อง

ทั้งนี้เป็นไปคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๖๒๑/๒๕๕๙

 

คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานตำแหน่งพนักงานซ่อมบำรุง จำเลยได้ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๕๐ ในหัวข้อเกี่ยวกับคุณภาพ และหัวข้อเกี่ยวกับความรับผิดชอบ เป็นศูนย์คะแนนเท่ากับทีมของโจทก์ไม่มีผลปฏิบัติงานเลย ทั้งที่โจทก์กับพวกปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท ซึ่งไม่เป็นธรรม เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ขอบังคับให้จำเลยประเมินผลการปฏิบัติงานปี ๒๕๕๐ ใหม่

 

ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยได้ประเมินการทำงานโจทก์เป็นไปตามอำนาจหน้าที่งานบริหารโดยทั่วไปตามปกติของบริษัท ไม่เข้าเหตุที่ศาลจะพิจารณาตามกฎหมายแรงงาน พิพากษายกฟ้อง

 

 โจทก์อุทธรณ์

 

ศาลฎีกาเห็นว่า ตามคำฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกลั่นแกล้งประเมินผลการปฏิบัติงานโจทก์ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ขอบังคับให้จำเลยประเมินผลการปฏิบัติงานปี ๒๕๕๐ ใหม่ กรณีนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๕๕ ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑

 

โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

 

ศาลแรงงานภาค ๒ ต้องพิจารณาไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการประเมินการปฏิบัติงานของจำเลยเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่ แล้ววินิจฉัยไปตามรูปคดี

 

ที่ศาลแรงงานภาค ๒ ด่วนยกฟ้อง ด้วยเหตุผลว่าจำเลยทั้งสองประเมินผลการทำงานโจทก์ไปตามอำนาจหน้าที่งานบริหารโดยทั่วไปตามปกติของบริษัท เป็นทำนองว่าไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์นั้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนการที่ไม่ชอบ พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒ ให้ศาลแรงงานภาค ๒ รับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาตามรูปคดีต่อไป
 



20/Feb/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา