ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
คุยกับนักวิจัยด้านแรงงาน มอง 6 กฎหมายเกี่ยวกับคนงานที่กำลังจะออกมาบังคับใช้ พร้อมทั้งไฮไลท์ข้อจำกัดของกฎหมายหลายฉบับที่ยังขาดกลไกแก้ไข และข้อเสนอแนะสร้างหน่วยจัดการและสื่อสารความรู้
1 เดือนก่อนถึง วันกรรมกรสากล (1 พ.ค.61) ที่คนงานทั่วโลกออกมาเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งมีข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลประเทศตนเองในเรื่องที่แรงงานยังเข้าไม่ถึงสิทธิพื้นฐานต่างๆ ประกอบกับช่วงนี้ประเทศไทยก็มีความคึกคักโดยเฉพาะรัฐบาลที่กำลังผลักดันกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน ทั้งในระบบ นอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานประมง กระทั่งในกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย ที่จะออกมาบังคับใช้ในอนาคต รวม 6 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่แรงงานจะได้รับ เช่น ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับเดือนมีนาคม 2561 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ..... ร่าง พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. .... ร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.... และ ร่าง พ.ร.บ. การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... รวมถึงกรณีที่คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบให้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร หากใช้ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ก็จะแบ่งได้ 5 ระดับ
ในโอกาสนี้ ประชาไท จึงพูดคุยกับ บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิจัยประเด็นสิทธิแรงงานและผู้ติดตามนโยบายเกี่ยวกับแรงงาน เพื่อวิเคราะห์กฎหมายทั้ง 6 ฉบับ รวมทั้งกระบวนการที่แบ่งเป็น 5 ระดับนี้ ตามที่ บุษยรัตน์ ระบุว่า การแบ่งแบบนี้จะช่วยทำให้เห็นว่ากฎหมายอยู่ในขั้นตอนไหน ทำให้ประมาณการณ์ระยะเวลาได้ว่าอีกนานเท่าใดกว่าจะประกาศใช้ หรือหากคนงานจะไปเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะได้รู้ว่าต้องไปตามที่หน่วยงานใด เช่น ที่กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
“ตามถูกฝาถูกตัวถูกที่” บุษยรัตน์ กล่าวสรุปอย่างง่ายไว้
อ่านต่อทั้งหมดได้ที่ http://www.prachatai.com/journal/2018/04/76183
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...