ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 61 กระทบภาคการผลิตบางกลุ่ม แต่สอดคล้องสภาพเศรษฐกิจ- กรุงเทพธุรกิจ 24 เมษายน 2561

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทยปี 2561: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นไปอย่างจำกัดจริงหรือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ค่าแรงขั้นต่ำของไทยจะปรับขึ้นทั่วประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีหรือนับจากปี 2556 ซึ่งมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสู่ระดับ 300 บาทต่อวัน ในปี 2561 ค่าแรงขั้นต่ำรายวันจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ308-330 บาท จาก 305-310 บาท ในปี 2560 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.4 


วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่นอุตสาหกรรมเครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งทอ และกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก(SME)อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมยังค่อนข้างจำกัดทั้งในแง่ต้นทุนค่าจ้าง ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ

4_2

วิจัยกรุงศรีกล่าวในรายงานผลกระทบการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่อเศรษฐกิจไทยว่า ในภาพรวมการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ค่อนข้างสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในแง่ของเวลา สาขาการผลิต และพื้นที่ หากพิจารณาจากส่วนต่างระหว่างการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพแรงงาน (ผลผลิตต่อแรงงานหนึ่งหน่วย) กับการเพิ่มขึ้นของค่าแรงที่แท้จริง จะพบว่าในช่วงก่อนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสู่ 300 บาท การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพแรงงานช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของค่าแรงที่แท้จริง หรือส่วนต่างมีค่าเป็นลบ(รูปที่ 1) ในขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน (ข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2560 ไตรมาส 3) ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นเร็วกว่าค่าแรงที่แท้จริงหรือส่วนต่างมีค่าเป็นบวก ซึ่งสะท้อนว่ายังมีช่องว่างให้ปรับขึ้นค่าจ้างเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการผลิตของแรงงานที่เพิ่มขึ้น  หากพิจารณาในแต่ละสาขาการผลิต พบว่าในปัจจุบันผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นเร็วกว่าค่าแรงที่แท้จริงในทุกสาขาการผลิต สอดคล้องกับภาพรวมของประเทศ และหากประเมินในแง่ของพื้นที่ (รูปที่ 2) พบว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลให้ค่าแรงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตราที่สอดคล้องกับการเติบโตของผลิตภาพแรงงานในแต่ละจังหวัด ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้จึงสะท้อนความสามารถด้านการผลิตของแรงงานที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา

3_2

 

 

 

วิจัยกรุงศรีประเมินว่าผลจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 1 การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปีนี้ที่เฉลี่ยร้อยละ 3.4 คาดว่าจะส่งผลให้ค่าจ้างของแรงงานในระดับอื่นๆปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยรวมแล้วจะทำให้ต้นทุนค่าแรงทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.1 และจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตทั้งประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตสามารถจำแนกผลกระทบเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ ผลกระทบทางตรงร้อยละ 0.13ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างเฉพาะปัจจัยการผลิตด้านแรงงาน ส่วนที่สองคือ ผลกระทบทางอ้อมร้อยละ 0.82 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาปัจจัยการผลิตอื่นๆ หรือเป็นการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าแรงที่แฝงอยู่ในราคาสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตดังกล่าวคาดว่าจะส่งผ่านมายังราคาสินค้าผู้บริโภคร้อยละ 0.62ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำในปัจจุบันให้ทยอยเข้าสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ในช่วงกลางปีนี้

การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศยังไม่ได้รับผลกระทบ ค่าแรงขั้นต่ำของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นช้ากว่ากลุ่มประเทศ CLMV(กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม) โดยนับตั้งแต่ปี 2556 ที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งใหญ่นั้นค่าแรงขั้นต่ำของไทย (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี ต่างจากกลุ่มประเทศ CLMV ที่ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3-16 ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเร่งตัวของค่าแรงในกลุ่มประเทศ CLMV ยังไม่สูงพอที่จะจูงใจให้เกิดการไหลออกของแรงงานต่างด้าว เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำของไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่อนข้างมาก (สูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน) อีกทั้งพื้นที่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศ CLMV ยังมีค่อนข้างจำกัด ส่งผลให้แรงงานต่าวด้าวมีแนวโน้มทำงานในประเทศไทยต่อไปอีกอย่างน้อย 3-5 ปี หรือจนกว่าเมียนมาจะเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมในระยะแรก (ชาวเมียนมาที่ทำงานในไทยมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 70 ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมดในไทย)

ภาคการผลิตบางกลุ่มอาจได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ กลุ่มแรกคือ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นและอยู่ปลายน้ำของสายพานการผลิต ซึ่งได้รับผลกระทบมากทั้งผลทางตรงและผลทางอ้อม(รูปที่ 3) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งทอ เป็นต้น กลุ่มนี้ยังมีความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากค่าแรงที่ถูกกว่า อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs)เนื่องจากมีสัดส่วนการจ้างแรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสูงถึงราวร้อยละ 40โดยเฉพาะ SMEs ภาคเกษตรมีสัดส่วนของแรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำมากถึงราวร้อยละ 80 อย่างไรก็ตาม ทางภาครัฐได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ SMEs  ทั้งโครงการช่วยเพิ่มผลิตภาพ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการให้ SMEs สามารถนำค่าจ้างรายวันไปหักค่าใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ 1.15 เท่า จึงคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยเหลือ SMEs ในช่วงของการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำได้ในระดับหนึ่ง
 

2_2

โดยสรุปแล้วการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้อาจต้องระวังผลกระทบต่อภาคการผลิตบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้แรงงานเข้มข้นและกลุ่ม SMEs อย่างไรก็ดี จากการวิเคราะห์ภาพกว้างทั้งประเทศพบว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อีกทั้งผลกระทบโดยรวมยังค่อนข้างจำกัดทั้งในแง่การเพิ่มขึ้นของต้นทุนแรงงานเฉลี่ย ต้นทุนการผลิตรวม และราคาสินค้าผู้บริโภค รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงาน คาดว่าการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 1.0 จะส่งผลให้ค่าแรงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.31 และจะทำให้ต้นทุนของภาคการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 ซึ่งจะส่งผ่านมายังราคาสินค้าผู้บริโภคร้อยละ 0.18



24/Apr/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา