ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สำนักงานสถิติแห่งชาติเผย สถิติแรงงานนอกระบบปีนี้แตะ 25 ล้านคน ชี้สัดส่วนมากกว่าครึ่งอยู่ภาคเกษตร

รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยผลสำรวจจำนวนแรงงานนอกระบบ ในปี 56 ว่า จากจำนวนผู้ที่มีงานทำทั้งหมด 39.1 ล้านคน พบว่า มีผู้ทำงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง และไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน หรือเป็นแรงงานนอกระบบมากถึง 25.1 ล้านคน คิดเป็น 64% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วน 62% ที่เหลือเป็นแรงงานในระบบที่ไดรับความคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งแรงงานนอกระบบดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ทำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร

 

ทั้งนี้จากการสำรวจแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือเรื่อง ของค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลมากที่สุดรองลงมาเป็นปัญหาของการทำงานหนัก และงานที่ทำไม่ได้รับการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ที่เหลือเป็นปัญหาเกี่ยวกับการไม่มีสวัสดิการจากภาครัฐเข้ามารองรับที่ ชัดเจน ไม่มีวันหยุดงาน ทำงานไม่ตรงตามเวลาปรกติ ชั่วโมงการทำงานมากเกินไปและลาพักผ่อนไม่ได้ จึงอยากให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ

 

ขณะที่ปัญหาของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่แรงงานนอกระบบประสบมากที่สุด คือ อิริยาบถในการทำงาน เช่น ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทางในการทำงาน รวมทั้งสถานที่ทำงานมีฝุ่น ควัน กลิ่น และแสงสว่างไม่เพียงพอ ขณะที่แญหาความไม่ปลอดภัย แรงงานนอกระบบส่วนมากจะได้รับสารเคมีเป็นพิศมากที่สุด รองลงมาเป็นเรื่องของความปลอดภัยจากเครื่องจักร และได้รับอันตรายจากระบบหูและระบบตา ตามลำดับ ซึ่งปัญหาทั้งหมด เห็นได้ว่า จะส่งผลต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ใช้แรงงานโดยตรง

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงประเภทการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจพบว่า แรงงานนอกระบบมากกว่าครึ่งทำงานอยู่ในภาคการเกษตร โดยมีจำนวนมากถึง 15.4 ล้านคน คิดเป็น 61% รองลงมาทำงานอยู่ในภาคการค้าและบริการ รวมถึงภาคการผลิต ส่วนที่เหลือไม่ทราบว่าประกอบกิจกรรมใด

 

นอกจากนี้ในด้านอุบัติเหตุจากการทำงานนั้น พบว่า แรงงานกลุ่มนี้ได้รับบาดเจ็บและประสบอุบัติเหตุมากถึง 4 ล้านคน แบ่งเป็น เกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการถูกของมีคมบาดมากที่สุด 66.6% รองลงมาเป็น หลัดตกหกล้ม ชนและกระแทก ไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ได้รับสารเคมีเป็นพิษ อุบัติเหตุจากยานพาหนะ และไฟฟ้าช็อต ขณะเดียวกันยังพบด้วยว่า อัตราการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ ในปี 56 ทั้งหมดนั้น มีค่าเฉลี่ยถึงวันละ 11,100 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่มี 10,927 คน ถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นนายจ้างควรเข้ามาดูแลและสร้างความปลอดภัยจากการทำงานให้กับแรงงานกลุ่มนี้มากขึ้นด้วย

 

เดลินิวส์  1 ธันวาคม 2556

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมกด (click) ที่ตรงนี้ครับ



02/Dec/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา