ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

นายจ้างจี้แรงงานปลดล็อคให้ต่างด้าวขายของหน้าร้านได้ , โลกวันนี้ 1 มิย. 61

นายพิภูเอก สกุลหลิม ผู้แทนกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว (GEFW)ประกอบไปด้วย ผู้ประกอบการร้านอาหาร ขายของ ร้านทำเล็บ เข้ายื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานพิจารณาปลดล็อคอาชีพสงวนเพิ่มจากเดิมที่มีแล้ว 12 อาชีพ โดยเสนอให้กระทรวงแรงงาน อนุญาตให้ในงานประเภทร้านอาหาร และขายสินค้า ต่างด้าวควรขายของหน้าร้าน รับเงิน และทอนเงินได้ เพื่อนำส่งให้นายจ้าง และในส่วนงานร้านทำเล็บ ทำความสะอาดมือเท้า ตัดเติมเล็บ แคะเล็บ ควรทาสีง่ายๆ ที่ไม่ใช่การเพ้นท์ได้ด้วย เนื่องจากเป็นงานกรรมกร มิใช่ทักษะขั้นสูง แต่ต้องมีเงื่อนไขคือ ต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง โดยมีนายจ้างเป็นคนไทยเท่านั้น

 

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจอยู่รอดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจได้ เพราะที่ผ่านมาต้องประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานไทย เพราะลักษณะงานดังกล่าวคนไทยไม่นิยมทำ เปิดรับสมัคร 3 เดือนก็ไม่มาและไม่สามารถรับแรงงาน ต่าวด้าวมาทำแทนได้ เพราะตามพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.2522ไม่อนุญาตให้ต่างด้าว ขายของหน้าร้าน เก็บเงินและทอนเงิน และไม่อนุญาตให้ทาสีเล็บ แต่ให้ตัดหรือแคะเล็บได้ ผู้ประกอบการจึงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก หนำซ้ำยังถูกผู้ที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเรียกผลประโยชน์รายเดือน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ กระทรวงแรงงานควรปลดล็อคอาชีพสงวนตามที่เสนอเพิ่มเติมนี้

 

นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้แทน รมว.รับหนังสือแทน รมว.แรงงาน กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอของกลุ่มนายจ้าง จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ที่จะมีขึ้นกลางเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้การพิจารณาปลดล็อคอาชีพสงวนเป็นไปอย่างรอบด้าน และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด โดยการพิจารณาจะต้องยึดหลัก ต้องไม่กระทบความมั่นคงของชาติ อาชีพที่ต่างด้าวทำได้ต้องไม่เป็นงานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรมของไทย อยุญาตให้ทำเท่าที่จำเป็น และต้องไม่แย่งงานคนไทย

 

ขณะที่บ่ายวันนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ มีกำหนดเป็นประธานการประชุมหารือเกี่ยวกับการปลดล็อกอาชีพสงวนแรงงานต่างด้าว ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันนท์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ สภาวิชาชีพ 3 สถาบัน (วิศวกร สถาปนิก บัญชี) นักวิชาการด้านแรงงาน เป็นต้น

 



06/Jun/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา