ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ รักษาการเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2561 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป โดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับใหม่) นี้ได้มีการปรับปรุงค่ารักษาและขยายความคุ้มครองให้ลูกจ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงแรงงานโดย พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ลูกจ้างได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น และนายจ้างได้รับความเป็นธรรม
นายอนันต์ชัย กล่าวต่อไปว่า พระราชบัญญัติเงินทดแทน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 มีสาระ สำคัญ คือ ได้มีการขยายความคุ้มครองแก่ลูกจ้างของส่วนราชการ ขยายความคุ้มครอง ให้ครอบคลุมไปถึงลูกจ้างซึ่งทำงานในองค์กรของนายจ้างที่มิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการออกกฎหมายบังคับใช้เกี่ยวกับขอบเขตการคุ้มครองลูกจ้างซึ่งได้รับการจ้างงานในประเทศ (Local staff) ของสถานเอกอัครราชทูตและองค์การระหว่างประเทศ เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ภัยพิบัติ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายหรือลักษณะของภัยพิบัติ ลดการจ่ายเงินเพิ่มตามกฎหมายในท้องที่ประสบ ภัยพิบัติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ทั้งนี้ ได้มีการเพิ่มอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย โดยออกเป็นกฎกระทรวงเพื่อให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ ดังนี้
เพิ่มอัตราค่าทดแทนกรณีต่างๆ จากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน
เพิ่มระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้าง ทุพพลภาพเป็นไม่น้อยกว่า 15 ปี (เดิมไม่เกิน 15 ปี)
เพิ่มระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้าง ถึงแก่ความตายหรือสูญหายมีกำหนด 10 ปี (เดิมกำหนด 8 ปี)
อีกทั้งกำหนดการจ่ายค่าทดแทนสำหรับกรณีลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานได้ให้ได้รับตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ (เดิมจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานติดต่อกันเกิน 3 วัน)
เพิ่มการจ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้าง ตามอัตราที่กำหนด ในกฎกระทรวง (เดิมจ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้างเป็นจำนวน 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน)
ในส่วนของนายจ้างก็จะได้รับประโยชน์จากร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทนนี้เช่นกัน กล่าวคือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน (ฉบับใหม่นี้) ได้มีการปรับลดเงินเพิ่มตามกฎหมายจากเดิมร้อยละ 3 ต่อเดือน ลดลงเหลือร้อยละ 2 ต่อเดือน
และกำหนดเกณฑ์ การคำนวณเงินเพิ่ม กรณีนายจ้างค้างชำระเงินสมทบ โดยกำหนดให้จำนวนเงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวน เงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย (เดิมไม่ได้กำหนดเพดานเงินเพิ่มไว้) เป็นต้น
นายอนันต์ชัย กล่าวในตอนท้ายว่า พระราชบัญญัติเงินทดแทน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 นี้ จะส่งผลให้ลูกจ้างมีหลักประกันของชีวิตดีขึ้น รวมถึงค่าทดแทนการขาดรายได้ และระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตในกรณีไม่สามารถทำงานได้ มีความจำเป็นต้องหยุดงาน และในส่วนของนายจ้างเองก็จะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราเงินเพิ่ม ส่งผลให้สถานภาพด้านการเงินของนายจ้าง มีความมั่นคง เสริมสร้างสังคมประเทศชาติให้มีเสถียรภาพเป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...