ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
คอลัมน์ ดาต้าเบส
นโยบายหาเสียงจากพรรคการเมือง 2 ขั้วแกนนำ ไม่ว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ล้วนมีความเหมือนอยู่ตรงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จาก 320 บาท เพิ่มเป็น 400-425 บาท
กล่าวสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคาร บริษัทมหาชนในตลาด “พรีบิลท์” ระบุว่า มีแรงงานก่อสร้างในมือ 4,000 คน ส่วนใหญ่ 80% เป็นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับประโยชน์ 100% จากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลไทย โดยไม่จำเป็นต้องมีฝีมือ นั่นหมายความว่า ค่าแรงขั้นต่ำกลายเป็นค่าตัวของ “แรงงานไร้ฝีมือ” หรือกรรมกรแบกหาม
ในขณะที่แรงงานก่อสร้างคนไทยมีจำนวนน้อยกว่า เหตุผลเพราะคนไทยเลือกงาน ถ้าเข้าสู่อาชีพแรงงานมักเลือกสมัครใจไปทำเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรมมากกว่า เข้างาน-เลิกงานเป็นเวลา มีพรรคพวกเพื่อนฝูงเยอะกว่า
ผลกระทบทางอ้อมทำให้ “แรงงานฝีมือ” มีค่าตัวเพิ่มกว่าค่าแรงขั้นต่ำ อาทิ ช่างฉาบปูน ช่างปูกระเบื้อง ช่างสี ช่างไฟฟ้า ว่ากันที่ตัวเลข 400-700 บาทขึ้นไป
เจาะไซต์ธุรกิจรับสร้างบ้าน ซึ่งบริษัทเปิดไซต์ก่อสร้างบ้านบนที่ดินลูกค้า ทำทีละหลัง ยกตัวอย่าง “มาสเตอร์แปลน 101” เป็นกลุ่มสร้างบ้านแพงหลังละ 20-200 ล้านบาท
โดยธุรกิจรับสร้างบ้านไม่แตกต่างจากรับเหมา ที่ต้องพึ่งการใช้แรงงานก่อสร้างแบบเข้มข้น มี 3 กรุ๊ปปิ้งงานด้วยกัน 1.งานโครงสร้างคอนกรีต 2.งานก่ออิฐ ฉาบปูน ปูกระเบื้อง 3.งานฟินิชชิ่ง กว่าจะเสร็จสมบูรณ์เป็นบ้าน 1 หลัง
ทุกวันนี้ค่าแรงขั้นต่ำ 320 บาท แต่ราคาค่าจ้างกรรมกรหรือจับกังจ่ายจริง 330-350 บาท ในขณะที่แรงงานฝีมือขึ้นไปอยู่ที่ 500-800 บาท/วัน
ในขณะที่ฟากดีเวลอปเปอร์ระบุว่า นโยบายหาเสียงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท หรือขึ้นทีเดียว 30% ถือเป็นนโยบายปุ๊บปั๊บ คงตั้งรับไม่ทัน นั่นหมายถึงผลกระทบอยู่ในระดับรุนแรง
แนวทางที่ควรจะเป็น อยากให้รัฐบาลทำแบบค่อยเป็นค่อยไป การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำควรตั้งอยู่บนดัชนีค่าครองชีพ+อัตราเงินเฟ้อ+ค่าทักษะฝีมือ แนวทางนี้ทำให้ธุรกิจก็อยู่ได้ แรงงานก็มีรายได้เพิ่ม โดยการขึ้นค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 5-10%
ไม่ว่าจะปรับขึ้นหนักหรือเบาแค่ไหน สุดท้ายผู้บริโภคปลายทางก็ต้องแบกรับภาระทั้งหมด เพราะค่าแรงถูกบวกเข้าไปในราคาสินค้าโดยอัตโนมัติ
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...