ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

การผลิตกระจกรถยนต์เป็นธุรกิจหลักของนายจ้าง เมื่อลูกจ้างมีปัญหาสุขภาพมาโดยตลอด ทำให้ยกและประกอบกระจกรถยนต์ไม่ได้ นายจ้างจึงต้องมอบหมายงานให้ทำเอกสาร ๕ ส แต่ปรากฏว่าลูกจ้างกลับลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลทุกปี อันแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพ ถือได้ว่าลูกจ้างเป็นผู้หย่อนความสามารถในการทำงาน นายจ้างเลิกจ้างได้

การผลิตกระจกรถยนต์เป็นธุรกิจหลักของนายจ้าง เมื่อลูกจ้างมีปัญหาสุขภาพมาโดยตลอด ทำให้ยกและประกอบกระจกรถยนต์ไม่ได้ นายจ้างจึงต้องมอบหมายงานให้ทำเอกสาร ๕ ส แต่ปรากฏว่าลูกจ้างกลับลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลทุกปี อันแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพที่ยังคงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะสามารถกลับมาทำงานตามปกติได้เมื่อใด ถือได้ว่าลูกจ้างเป็นผู้มีสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนความสามารถในการทำงาน นายจ้างเลิกจ้างจึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๑๖๒๒/๒๕๖๒

 

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๕ จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งสุดท้ายพนักงานฝ่ายผลิต ค่าจ้างและค่าเช่าบ้าน รวมเดือนละ ๒๓,๗๙๓.๖๔ บาท ต่อมาวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ อ้างว่ายอดการผลิตของจำเลยในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มลดลง จำเลยมีความจำเป็นต้องลดคน เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทางานในตำแหน่งหน้าที่เดิมโดยได้รับค่าจ้าง สวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นตามเดิม

 

จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการยกและประกอบกระจกรถยนต์

 

แต่ปี ๒๕๕๙ เป็นต้นมาโจทก์ใช้สิทธิการลาป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างว่าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการปวดขา ปวดหลัง จำเลยจึงมอบหมายงานการทำงานเอกสาร ๕ ส ให้โจทก์แทนการปฏิบัติงานตามปกติ

 

แต่นอกเวลางานโจทก์กลับสามารถเล่นกีฬาและเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลได้อย่างต่อเนื่องทุกปี

 

ต่อมาปี ๒๕๖๐ ต่อเนื่องถึงปี ๒๕๖๑ จำเลยได้รับผลกระทบจากสภาวะทางเศรษฐกิจทำให้ยอดสั่งซื้อลดลงจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากไม่สามารถย้ายโจทก์ไปทำงานในส่วนการผลิตอื่นได้เพราะเหตุสุขภาพของโจทก์

 

ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์มีปัญหาสุขภาพ มีอาการเจ็บป่วยมาโดยตลอด การยกกระจกรถยนต์เพื่อตรวจสอบหรือประกอบเป็นงานธุรกิจหลักของจำเลยที่ทำการค้าเกี่ยวกับการผลิตกระจกรถยนต์

 

อีกทั้งการเจ็บป่วยของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการทำงานให้กับจำเลย และจำเลยยังมอบหมายให้โจทก์ทำงานด้านเอกสารเพื่อให้โจทก์รักษาตัวอย่างเต็มที่

 

แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลทุกปี อันแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพที่ยังคงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และจำเลยไม่อาจคาดหมายได้ว่าโจทก์สามารถกลับมาทำงานตามปกติได้เมื่อใด จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนความสามารถในการทำงาน

 

การเลิกจ้างจึงเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับฯ แม้จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ตาม มิใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม พิพากษายกฟ้อง

 

โจทก์อุทธรณ์

 

ประเด็นหนังสือเลิกจ้างไม่ได้ระบุเหตุปัญหาสุขภาพ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า

 

การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ มิได้บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างยกเหตุที่มิได้ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างขึ้นต่อสู้ดังที่โจทก์อุทธรณ์ จำเลยจึงอ้างเหตุว่าโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงานและมีปัญหาด้านสุขภาพจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไป มีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ขึ้นต่อสู้ได้

 

ประเด็นการเลิกจ้างขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ เห็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อ ๒.๗ ที่กำหนดให้จำเลยดำเนินการตามข้อ ๒.๗.๑ – ๒.๗.๔ ดังกล่าว เป็นกรณีที่จำเลยมีความจำเป็นต้องยุบ โยกย้าย หรือเลิกจ้างพนักงานเป็นกลุ่ม ซึ่งมิใช่จำกัดความประพฤติหรือความบกพร่องของพนักงานคนใดคนหนึ่ง แต่เกิดจากความจำเป็นของฝ่ายนายจ้างโดยฝ่ายลูกจ้างมิได้มีความผิดหรือความบกพร่องใดๆ จำเลยจึงต้องดำเนินการตามข้อ ๒.๗.๑ – ๒.๗.๔ ดังกล่าว

 

เมื่อโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงานและมีปัญหาด้านสุขภาพ จนเป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไปได้ อันเป็นปัญหาส่วนบุคคลของตัวโจทก์เอง จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

ฉบับดังกล่าว

 

พิพากษายืน



03/Nov/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา