ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
รองโฆษกรัฐบาล แถลงครม.ขับเคลื่อน นโยบาย รองรับสังคมสูงวัย ผุด 8 มาตราการสร้างแรงจูงใจ ลูกจ้าง-นายจ้าง พร้อมขยายคุณสมบัติผู้ประกันตน ตามมาตรา40 อีก 5 ปี
วันนี้ (24 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.รับทราบสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561 ซึ่งปัจจุบันมีประชากรที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไปจำนวน 11.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.6 ของประชากรทั้งหมด ค่าเฉลี่ยอายุคนไทยอยู่ที่ 77 ปี และมีอัตราเจริญพันธุ์อยู่ที่ 1.5 คน ซึ่งส่งผลต่อการจัดระบบสวัสดิการและการประกันสังคมแก่ผู้สูงอายุ การบริการทางด้านสุขอนามัยและการดูแลผู้สูงอายุ โดยปี2561 รัฐบาลได้จ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุจำนวน 8.38ล้านคน เป็นเงินงบประมาณ66,000 ล้านบาท และดำเนินโครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สิ้นเดือนธันวาคม มีผู้บริจาค 811 ราย เป็นจำนวนเงิน2.8ล้านบาท เงินบริจาคนำเข้ากองทุนผู้สูงอายุ ในจำนวนประชากรสูงอายุ 11.7ล้านคน เป็นผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานอยู่ประมาณ 1ใน 3 หรือประมาณ 4.36ล้านคน เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงเกือบ 2 เท่า โดยในภาพรวมเป็นการทำงานนอกระบบร้อยละ 88.2 ซึ่งเท่ากับเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง
น.ส.รัชดา กล่าวต่อว่า กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เสนอครม.
1.เสริมทักษะแรงงานสูงอายุภายใต้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.สร้างแรงจูงใจการทำงานให้กับแรงงานสูงอายุ ด้วยการออกแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับความต้องการและเงื่อนไขตามวัยของแรงงาน
3.สร้างแรงจูงใจและขยายสิทธิประโยชน์ให้กับนายจ้างที่จ้างแรงงานสูงอายุ
4.ขยายอายุในการเริ่มรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ยาวนานกว่าที่อายุ 55 ปีขึ้นไป ในกรณีของแรงงานภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม
5.หามาตรการส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีหลักประกันด้านรายได้ยามชราภาพ
6.เพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกิจกรรมเพื่อสังคม ของภาคเอกชนในการส่งเสริมสร้างงานแก่ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ
7.ปรับแก้กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการจ้างงานผู้สูงอายุ รวมทั้งขยายอายุเกษียณของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และ
8.สร้างมโนทัศใหม่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ เพื่อให้สังคมเห็นว่าผู้สูงอายุมีพลังและมีศักยภาพเป็นผู้ผลิตในตลาดแรงงาน
นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ครม.จึงเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้ขยายคุณสมบัติของบุคคลซึ่งสมัครเข้าประกันตนตามมาตรา 40 พ.ร.บ.ประกันสังคม จาก “ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า15ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60ปีบริบูรณ์” เป็น “ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า15ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65ปีบริบูรณ์” ซึ่งคุณสมบัติตามมาตรา 40 ครอบคลุม ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เกษตรกร รวมไปถึงพนักงานอิสระต่างๆ
ทั้งนี้ จากการประมาณการข้อมูลประชากรเพศชายเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่61-65ปี จำนวน 4ล้านคน ในปี2563 คาดว่าจะมีผู้ประกันตนตามมาตรา40 จำนวน 63,768คน เป็นเพศชาย1.4% เพศหญิง 1.75% จำนวนเงินสมทบในส่วนของรัฐบาลคิดเป็น45,147,600 บาท การประกันตนมีสามทางเลือกด้วยกันคือ 1. ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ70บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท 2. ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 100บาท รัฐจ่ายสมทบ50 บาท และ 3. ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ300บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท โดย สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ เช่น เจ็บป่วยจะได้รับค่าชดเชยวันละ 300 บาท (ไม่เกิน 30 วันต่อปี) หากทุพพลภาพจะได้รับเงินทดแทน กรณีเสียชีวิตได้รับเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์ ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...