ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คาบลูกคาบดอก : สวัสดิการแรงงานประมง , ไทยรัฐ 25 มกราคม 63

ในเดือน เม.ย. ที่จะถึงนี้ ประเทศไทย ต้องเผชิญกับ ปัญหากีดกันทางการค้า หรือการตัดสิทธิ์ จีเอสพี จาก สหรัฐฯ ส่วนมาตรการจะหนักจะเบา จะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจประเทศไทยแค่ไหนต้องเฝ้าระวังกันต่อไป


ที่ผ่านมาเราได้รับผลกระทบจาก มาตรการตอบโต้ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มาแล้วหลายรอบ เช่น ปัญหา การละเมิดสิทธิและเสรีภาพแรงงานประมง แรงงานเด็กและสตรี หรือมาตรฐานการบิน ถูกปักธงแดง กว่าจะแก้ปัญหาลดผลกระทบได้เล่นเอาหืดขึ้นคอ


ในส่วนของ การแก้ปัญหาแรงงานประมง รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานที่มี ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เป็นเจ้ากระทรวง ให้ปรับปรุง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานในงานประมง ที่ประกาศใช้ เพื่อคุ้มครองแรงงานประมงในด้านการประกันสุขภาพและสวัสดิการ ที่มีผลบังคับใช้มาแล้วตั้งแต่วันที่ 18 พ.ย.2562 ที่ผ่านมา


หลักเกณฑ์สำคัญของประกาศกระทรวงแรงงานว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมง เรื่องวิธีการ และเงื่อนไข การจัดสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพและสวัสดิการแก่แรงงานประมงพ.ศ.2562 มีสาระสำคัญดังนี้


การคุ้มครองด้านสุขภาพ อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เจ้าของเรือ ต้องจัดให้มีการคุ้มครองสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว


เงินทดแทนการขาดรายได้ จากการเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย โดยให้ เจ้าของเรือจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 50 บาท ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนด สำหรับ แรงงานประมงต้อง หยุดงานเพื่อรักษาพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ ในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน แต่ต้องไม่เกิน 180 วัน


จัดสิทธิประโยชน์เงินทดแทน กรณีแรงงานประมง ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือร่างกาย หรือสูญเสียสภาวะปกติของจิตใจ อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง ไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ ให้ เจ้าของเรือ จ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 30 ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดแล้วคูณด้วย 30 วัน เป็นระยะเวลา 180 เดือน


กรณีแรงงานประมงเสียชีวิต อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ให้ เจ้าของเรือ จ่ายค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท ให้กับผู้จัดการงานศพแรงงานประมง รวมทั้ง เงินสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุดคูณด้วย 30 วัน เป็นระยะเวลา 12 เดือน ให้กับบุคคลที่แรงงานประมงทำหนังสือระบุให้เป็นสิทธิ์ ถ้ามิได้ระบุเป็นหนังสือเอาไว้ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้ทายาทตามกฎหมายจำนวนเท่ากัน


อย่างไรก็ดีกระทรวงแรงงานมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เพื่อผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่ม ทุกประเภทและทุกชาติอย่างเท่าเทียมกัน ให้เป็นมาตรฐานของการใช้แรงงานแบบสากลโดยยึดหลักมนุษยธรรม.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th 



03/Feb/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา