ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 3 ก.พ. นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ชี้แจงถึงกรณีที่นายฮวน ซานทานเดอร์ รองผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย กล่าวถึงสิทธิเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในไทยขาดหลักประกันสุขภาพว่า คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายจะได้รับการคุ้มครองด้านสวัสดิการในการทำงาน และด้านสุขภาพ เช่น การประกันสังคม การประกันสุขภาพ โดยการคุ้มครองดังกล่าว ใช้กฎหมายฉบับเดียวกันกับแรงงานที่เป็นคนไทย ดังนั้น จึงถือว่าได้รับสิทธิเท่าเทียมกันกับคนไทย
นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องระบบ MOU นั้น คือ ระบบการรับ -ส่งแรงงานระหว่างรัฐบาลประเทศผู้รับกับรัฐบาลประเทศผู้ส่ง ซึ่งเป็นการกำหนดเฉพาะเรื่องแรงงานเท่านั้น โดยวัตถุประสงค์ของแรงงานที่เข้ามาก็เป็นการชั่วคราว เพื่อการทำงานหารายได้ มิใช่เป็นการย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาอยู่อาศัยหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวก็เป็นไปตามหลักสากลเช่นเดียวกันกับแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศก็ไม่สามารถนำผู้พึ่งพิงติดตามไปอยู่ด้วยได้
หากผู้พึ่งพิง (ภรรยาและบุตรของแรงงาน) มีความต้องการเดินทางมาพบกับแรงงาน ก็ไม่ได้มีข้อห้ามกำหนดไว้ แต่กระบวนการที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรก็ต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
กรณีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากมีบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ก็สามารถแจ้งเกิดและได้รับสิทธิการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เช่นเดียวกันกับบิดาหรือมารดา ตามกฎกระทรวงกำหนดฐานะและเงื่อนไข การอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ.2560 ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
ส่วนประเด็นเรื่องค่ารักษาพยาบาลแพงนั้น แรงงานต่างด้าวมีประกันสุขภาพอยู่แล้วก็สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพได้ตามปกติ
ส่วนประเด็นเรื่องพื้นที่ในการรักษาพยาบาล ก็สามารถแจ้งย้ายได้หากแรงงานเปลี่ยนไปทำงานในพื้นที่อื่น หรือเปลี่ยนไปทำงานกับนายจ้างรายอื่นๆ ซึ่งไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดิม รวมถึงผู้ติดตามก็สามารถทำประกันสุขภาพได้ตั้งแต่แรกเกิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2562 โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดค่าประกันสุขภาพ ดังนี้ 1. แรงงานต่างด้าว ค่าประกันสุขภาพ 2 ปี ราคา 3,200 บาท 2. ผู้ติดตาม (บุตร) อายุเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ค่าประกันสุขภาพ 2 ปี ราคา 3,200 บาท 3) ผู้ติดตาม (บุตร) อายุไม่เกิน 7 ปี ค่าประกันสุขภาพ 2 ปี ราคา 730 บาท
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...