ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สรุป 5 มาตรการ “ประกันสังคม” ช่วยผู้ว่างงานจากโควิด-19 ลงทะเบียนที่ www.sso.go.th , 31 มีนาคม ประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 31 มีนาคม 2563 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เกิดภาวะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 กระทรวงแรงงานได้สั่งการทุกหน่วยงานวางมาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงาน ซึ่งในส่วนของสำนักงานประกันสังคมมาตรการที่ออกมา และผ่านคณะรัฐมนตรีไปแล้วประกอบด้วย

 

1.การลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และลูกจ้างมาตรา 33 , มาตรา 39 โดยมีผู้ประกันตนได้รับประโยชน์รวมทั้งสิ้น 13,346,143 ราย โดยมาตรา 33 นายจ้างจ่ายสมทบเหลือ 4% ลูกจ้าง จ่ายสมทบ 1% และมติครม.เมื่อ31 มี.ค.2563 เห็นชอบให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ไม่มีนายจ้าง) ลดการส่งเงินสมทบจาก 221 บาท/เดือน เป็น 86 บาท/เดือน

 

2.การขยายระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบให้แก่นายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 สำหรับงวดเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 ออกไปอีก3เดือน กรณีนี้มีนายจ้างได้รับประโยชน์ 488,226 ราย และผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้รับประโยชน์ 1,653,714 ราย

 

3.การเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย นอกจากกิจการที่ “ภาครัฐสั่งให้หยุดชั่วคราว” รวมไปถึงกรณีว่างงานเนื่องมาจากกรณี “ถูกเลิกจ้าง” และ “ลาออกเอง”

 

และที่ประชุม ครม.เมื่อ31 มี.ค.2563 ยังเห็นชอบให้เพิ่มอัตราและปรับระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีผู้ประกันตนที่ว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยบางรายได้รับเงินชดเชยในอัตราที่น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน โดยขอเพิ่มอัตราและปรับระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เพื่อให้ผู้ประกันตนที่ว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย ได้รับสิทธิประโยชน์ในอัตราไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยสามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

 

4. การส่งเสริมให้มีการจ้างงาน โดยขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน วงเงิน 30,000 ล้านบาท

 

5. การดูแลรักษาเพิ่มสิทธิการรักษาประกันสังคมแก่ผู้ประกันตนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อ โควิด-19 เท่าเทียมกับการรักษาทั้ง 3 กองทุน



01/Apr/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา