ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่กฎกระทรวงแรงงาน ซึ่งลงนามโดยหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 2 ฉบับ ประกอบด้วย
กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานอันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ พ.ศ. 2563
กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563
สำหรับสาระสำคัญกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานอันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ พ.ศ. 2563 มีดังนี้
ข้อ 1 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานอันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ในอัตรา ดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละเจ็ดสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้างโดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินสองร้อยวัน
(2) ร้อยละสี่สิบห้าของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงานเพราะเหตุลาออกจากงานหรือเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น โดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน
ในกรณีที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุตาม (1) หรือเหตุตาม (1) และ (2) เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลาหนึ่งปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันได้ไม่เกินสองร้อยวัน แต่ในกรณีที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุตาม (2) เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลาหนึ่งปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
ข้อ 2 ในกรณีที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในระยะเวลาหนึ่งปีปฏิทินใดไม่ครบกำหนดเวลาตามข้อ1.ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน โดยการนับระยะเวลาต่อเนื่องไปในปีปฏิทินถัดไปได้
ข้อ 3 หลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547
ข้อ 4 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2547 อยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและได้รับเงินทดแทนยังไม่ครบกำหนดเวลาตามสิทธิดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในอัตราและระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นตามกฎกระทรวงนี้ เฉพาะเงินทดแทนที่ยังเหลืออยู่ตามสิทธิของตนเท่านั้น
ส่วนกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 มีสาระสำคัญ ดังนี้
ข้อ1.กำหนดคำนิยามของ“เหตุสุดวิสัย” หมายความรวมถึง ภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดต่ออันตรายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และถึงขนาดที่ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ
ข้อ 2 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามกฎกระทรวงนี้
ข้อ 3 ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรคให้ลูกจ้างดังกล่าว ซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละหกสิบสองของค่าจ้างรายวัน
โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานแต่ไม่เกินเก้าสิบวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ข้อ 4 ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย ถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานไม่สามารถทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเองหรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินก็ตาม
ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละหกสิบสองของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลา ที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ข้อ 5 การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามข้อ 3 และข้อ 4 ให้จ่ายเป็นรายเดือน สำหรับเศษของเดือนให้คำนวณจ่ายเป็นรายวัน และให้นำบทบัญญัติมาตรา 57 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558มาใช้บังคับแก่การคำนวณค่าจ้างรายวัน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานด้วยโดยอนุโลม
ข้อ6 ให้สำนักงานงดการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยแก่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนเมื่อ
(1) ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง โดยให้สิ้นสุดการรับประโยชน์ทดแทนตั้งแต่วันที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนได้ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง
(2) ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนได้สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากสัญญาจ้างได้สิ้นสุดลง โดยให้สิ้นสุดการรับประโยชน์ทดแทนตั้งแต่วันที่สัญญาจ้างแรงงานได้สิ้นสุดลง
ข้อ 7 ให้นายจ้างออกหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการตามหนังสือรับรองที่แนบท้ายกฎกระทรวงนี้
การออกหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง นายจ้างอาจจัดทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และส่งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ แต่ต้องเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐานให้ไว้
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...