ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอร่างกฎกระทรวงการได้รับผลประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมี “เหตุสุดวิสัย” อันเกิดจากการระบาดของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นการชั่วคราว ไม่ว่าจะหยุดกิจการเอง หรือหยุด-ปิดเพราะคำสั่งของราชการ ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น
ให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการแต่ไม่เกิน 90 วัน
ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมมีเงินในส่วนกองทุนว่างงานอยู่ 164,000 ล้านบาท ที่จะนำมาดูแลผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คาดว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และได้รับเงินชดเชยประมาณ 1 ล้านคน โดยเงินชดเชยที่จะจ่ายให้เดือนละ 5,045-9,300 บาท คาดว่าในช่วง 3 เดือนนี้จะใช้เงินจากกองทุนประกันสังคมจ่ายชดเชยให้ผู้ว่างงาน ประมาณ 20,000 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าสำหรับผู้ประกันตนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานมี 2 ประเภท คือ 1) เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรงจนต้องหยุดกิจการ ทำให้ว่างงาน หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติได้
และ 2) ผู้ประกันตนจะต้องมีการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ส่วนกรณีที่จัดส่งเงินสมทบไม่ต่อเนื่อง ให้พิจารณาการส่งเงินในรอบ 15 เดือน ว่ารวมแล้วจะต้องส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
ส่วนบางสถานประกอบการที่แม้จะหยุดการทำงาน แต่ยังคงจ่ายเงินให้กับแรงงานเพื่อรักษาสถานภาพลูกจ้างเอาไว้ ถือเป็นผู้ประกันตนที่ “ไม่เข้าข่าย” ได้รับการเยียวยาจากประกันสังคม เพราะเท่ากับว่าธุรกิจยังมีสภาพคล่อง เพียงแค่รอให้สถานการณ์การะบาดของโรคคลี่คลายลงก่อน จึงจะกลับมาดำเนินกิจการต่อไป
“การผลักดันให้ประกันสังคมเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น เนื่องจากเราเห็นความเดือดร้อนของผู้ว่างงานที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลไม่ต้องการให้สถานประกอบการต่าง ๆ ปิดกิจการ เพราะจะมีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีกมาก”
นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ผู้ประกันตนในขณะนี้มียอดรวมทั้งสิ้น 11 ล้านราย แต่บางกิจการก็ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีการระบาดของโควิด-19 และยังดำเนินการตามปกติ เมื่อลองประเมินจากจำนวนดังกล่าวพบว่าจะมีผู้เข้าข่ายราว 7 ล้านคน แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกันตนในจำนวนนี้จะเข้ามาลงทะเบียนเพื่อขอรับการเยียวยาทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกันตนประมาณ 1 ล้านคนที่จะได้รับการเยียวยา
สำหรับสถานะของกองทุนประกันว่างงานในขณะนี้มีเงินกองอยู่ราว 164,000 ล้านบาท ที่สามารถนำมาดูแลผู้ประกันตนตามมาตรา 33 รวม 1 ล้านคนได้ โดยจะจ่ายเงินชดเชยให้ประมาณ 5,045-9,300 บาท รวมระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินรวม 20,000 ล้านบาท
“ในบอร์ดประกันสังคมที่หารือกัน เราไม่ต้องการให้มีการเทเงิน 164,000 ล้านบาท ออกมาใช้ทั้งหมด การจ่ายเงินจะต้องอยู่บนฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ 62% ของฐานเงินเดือนที่ต่ำสุดคือ 10,500 บาท เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับเงินเยียวยาไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ตัวเลขเหล่านี้เป็นการประเมินการณ์ของบอร์ดเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี”
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...