ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจการเลิกจ้างลูกจ้างมิตซูบิชิ อิเล็คทริคฯ ชลบุรี เผยลูกจ้างได้รับค่าชดเชย-ค่าบอกกล่าวล่วงหน้ากว่า 41 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว ด้านนายจ้างเตรียมจ่ายค่าจ้าง 20 เม.ย.63
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงกรณีบริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค คอนซูเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเลิกจ้างลูกจ้าง จำนวน 1,000 คน ว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า บริษัทดังกล่าวมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ประกอบกิจการผลิตเครื่องปรับอากาศสำเร็จรูปและผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ มีลูกจ้างโดยตรง 2,500 คน และมีลูกจ้างรับเหมาค่าแรงอีก 2,600 คน การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการเลิกจ้างลูกจ้างรับเหมาค่าแรงจากบริษัทรับเหมาค่าแรง 7 บริษัท จำนวนลูกจ้าง รวม 1,119 คน และให้มีผลทันทีโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563
ทั้งนี้ บริษัทแจ้งว่า ได้กำหนดจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 41 ล้านบาท โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารของลูกจ้าง ทุกรายที่ถูกเลิกจ้าง ซึ่งขณะนี้ลูกจ้างได้รับเงินดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และจะจ่ายค่าจ้างในวันที่ 20 เมษายน 2563 โดยการโอนเข้าบัญชีธนาคารลูกจ้างเช่นกัน
อธิบดีกสร. กล่าวต่อว่า กสร. ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรีลงพื้นที่ไปพูดคุยกับนายจ้าง ลูกจ้าง พร้อมทั้งชี้แจงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายให้แก่นายจ้างลูกจ้างได้ทราบเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม กสร.ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยให้ตรวจสอบกับลูกจ้างว่าได้รับค่าจ้างถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกต้องให้ดำเนินการ ให้ความช่วยเหลือลูกจ้างทันที พร้อมทั้งให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการจัดหางานในการจัดหางานใหม่ทดแทน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกรณีที่ลูกจ้างต้องการฝึกอาชีพและสำนักงานประกันสังคมในการดูแลสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างด้วย
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม จำนวน 151,802 คน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 147,624 คน) และมีอัตราการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -6.29 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมา (จำนวน 161,984 คน)
ขณะที่อัตราการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.8 แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่าน โดยการว่างงานรายอุตสาหกรรมหลักเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าขยายตัวทุกอุตสาหกรรม ได้แก่ สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 31.18 สาขาขนส่ง ร้อยละ 27.94 สาขาโรงแรมและร้านอาหาร ร้อยละ 3.22 สาขาการค้าร้อยละ 2.57 สาขาการผลิต ร้อยละ 1.72 และสาขาก่อสร้าง ร้อยละ 0.53 ตามลำดับ
ด้านลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างเดือนกุมภาพันธ์2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 30,818 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 0.26 มีอัตราการเลิกจ้างเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 26,396 คน) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.23 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมา (จำนวน 29,369 คน) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.25
โดยการเลิกจ้างรายอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 159.87 สาขาขนส่งร้อยละ 61.19 สาขาการผลิต ร้อยละ 18.62 สาขาการค้า ร้อยละ 14.34 ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมหลักที่หดตัว ได้แก่ สาขาโรงแรมและร้านอาหาร ร้อยละ -14.87 และสาขาก่อสร้าง ร้อยละ -9.08 ตามลำดับ
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...