ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

แม้ว่าสัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นแล้ว แต่เมื่อลูกจ้างยังมิได้เริ่มงาน นายจ้างบอกเลิกสัญญา จึงมิใช่กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง

อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๘๐/๒๕๖๓

 

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เดิมโจทก์ทำงานอยู่บริษัท A ตำแหน่ง Division Sales Manager ได้รับค่าจ้างและค่าตอบแทนเดือนละ ๑๐๖,๐๐๐ บาท และค่าตอบแทบรายปี ๓๗๐,๐๐๐ บาท และได้ลาออกจากงานมาวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙

 

เมื่อปลายปี ๒๕๕๙ จำเลยหรือตัวแทนจำเลยชักชวนโจทก์มาทำงานในตำแหน่ง National Sale Manager ตกลงค่าตอบแทนไม่ต่ำกว่าเดือนละ ๑๓๓,๐๐๐ บาท ไม่รวมค่าตอบแทนรายปี โดยทำสัญญาจ้างเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ กำหนดเริ่มงานวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๐

 

ต่อมาวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๐ โจทก์เดินทางไปทำงาน แต่จำเลยกลับบอกเลิกสัญญาจ้าง จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอบังคับให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๓๙,๓๑๒.๙๕ บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ๒๔๔,๐๕๙.๕๒ บาท และค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด ๘๘๘,๒๕๐.๙๖ บาท พร้อมดอกเบี้ย

 

ศาลแรงงานพิจารณาแล้ว เห็นว่า

 

โจทก์ยังไม่ได้ทำงานให้จำเลย ที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างมิใช่กรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมไม่อาจนำค่าเสียหายที่มีฐานคำนวณจากการได้รับค่าชดเชยมาเรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าเสียโอกาสในการทำงานและขาดประโยชน์อันพึงได้รับโดยชอบได้

 

แต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญาจ้างได้ พิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหาย ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์อุทธรณ์

 

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า

 

สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ และลูกจ้างมีหน้าที่ตอบแทนคือต้องทำงานให้แก่นายจ้างเช่นเดียวกัน

 

เมื่อสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยฉบับลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ กำหนดให้โจทก์เริ่มทำงานวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๐ แต่เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างงานก่อนที่โจทก์จะทำงานให้แก่จำเลย

 

กล่าวคือ โจทก์ยังมิได้ทำงานให้แก่จำเลยก็ถูกเลิกสัญญาจ้างงานเสียก่อน โจทก์กับจำเลยจึงยังไม่ใช่ลูกจ้างและนายจ้างต่อกันตามความหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๕

 

โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

พิพากษายืน



05/May/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา