ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ครม.มีมติตามการขยายพรก.ฉุกเฉิน ผ่อนปรนแรงงานถูกกฎหมาย 3 ประเทศ กัมพูชา ลาว เมียนมา อยู่ไทยได้ถึง 31 พ.ค.63 , ฐานเศรษฐกิจ 5 พค. 63

ที่ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 5 พ.ค. 63 ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า 


คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม


ดร.นฤมล เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน เสนอว่า เนื่องจากการผ่อนผันให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศกระทรวงแรงงาน ที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานไปพลางก่อนได้สิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 


แต่มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องตามที่ได้มีประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 


โดยขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 

 

ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563 ให้บรรดาประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ 


ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองที่ได้ประกาศหรือสั่งการไว้ก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับไม่ว่าจะเป็นการห้าม การให้กระทำการ หรือการผ่อนคลายใด ๆ ซึ่งถือว่าเป็นประกาศหรือสั่งตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปเช่นเดิม 


จนกว่าจะมีข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทำให้มาตรการจำกัดการเคลื่อนย้ายแรงงาน การควบคุมการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด 

 

รวมถึงการระงับการเข้าออกราชอาณาจักรยังมีผลบังคับใช้ต่อไป ส่งผลให้คนต่างด้าวดังกล่าวไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้ต่อไปอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งหากไม่ขยายระยะเวลาการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับคนต่างด้าวดังกล่าวเพิ่มเติมต่อไปอีก จะทำให้คนต่างด้าวไม่สามารถทำงานได้ 


ส่งผลกระทบต่อนายจ้าง สถานประกอบการ ที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้คนต่างด้าวในการทำงาน รวมถึงส่งผลกระทบต่อคนต่างด้าวซึ่งยังต้องอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่มีรายได้เพื่อการดำรงชีพดังนั้นการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี มีดังนี้ 


กลุ่มเป้าหมาย เป็นคนต่างด้าว 2 กลุ่ม คือ 


1.คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานหรือบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่วาระการจ้างงานครบสี่ปีและระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง แต่ไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ก่อนหรือในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19


2.คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งถือบัตรผ่านแดนตามมาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุด และไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ก่อนหรือในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
  

ลักษณะการดำเนินการ เป็นการขยายระยะเวลาการผ่อนปรนให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคีอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานได้ต่อไป โดยมีระยะเวลา : อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563
 

หลังสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 แรงงานต่างด้าวต้องเดินทางออกจากราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง



05/May/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา