ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8825/2554

สาระสำคัญ

การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยใช้กำลังประทุษร้ายและพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยเด็กหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

 

นาย ธ.นำ ผู้เสียหายมาฝากไว้กับนาง ล. ภริยาของจำเลยช่วยดูแลเพื่อความสะดวกในการศึกษาของผู้เสียหาย ดังนั้น อำนาจปกครองยังคงอยู่กับนาย ธ. ผู้เป็นบิดาของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าเหตุฉกรรจ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษหนักขึ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง และมาตรา 277 วรรคสอง (เดิม)

 

ประกอบมาตรา 80 เนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปี ซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยหลายครั้งในระยะเวลาหลายวัน โดยมิได้บรรยายว่ากระทำผิดกี่กรรมและเมื่อใดบ้าง ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดเพียงกรรมเดียว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยฐานพยายามกระทำชำ เราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี รวม 4 กระทง มานั้นจึงไม่ถูกต้อง

 

ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

อาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8825/2554 ฉบับเต็ม

ระหว่าง

พนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี โจทก์

นายทองคำ น้อยพันธ์ จำเลย

 

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนกันยายน 2546 วันใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางคืนหลังเที่ยงถึงวันที่ 27 กันยายน 2546 เวลากลางคืนหลังเที่ยงติดต่อกัน จำเลยกระทำอนาจารเด็กหญิง ส. ผู้เสียหายอายุ 11 ปี ยังไม่เกิน 15 ปี และเป็นผู้อยู่ในความปกครองของจำเลย โดยจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายจับมือทั้งสองข้างของผู้เสียหายไว้ไม่ให้ดิ้น ในขณะที่ผู้เสียหายนอนหลับอยู่ แล้วถอดกางเกงของผู้เสียหายและถอดกางเกงของจำเลยออกจั บขาของผู้เสียหายไว้จนผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้แล้ว จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่อายุไม่เกินสิบสามปี ซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยหลายครั้ง เหตุเกิดที่ตำบลปากข้าวสารอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 276,277 วรรคสอง, 279, 285

 

จำเลยให้การปฏิเสธ

 

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก, 277 วรรคสอง, 279 วรรคแรก, 285 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 285 รวม 4 กระทง จำคุกกระทงละ 9 ปี 4 เดือน รวมจำคุก 36 ปี 16 เดือน

 

จำเลยอุทธรณ์

 

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 279 วรรคแรก มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 80 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 จำคุกกระทงละ 6 ปี รวม 4 กระทง จำคุก 24 ปี ข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

 

โจทก์และจำเลยฎีกา

 

ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และจำเลยว่า

 

จำเลยกระทำผิดฐานข่มขืนกระทำ ชำเรา และกระทำอนาจารผู้เสียหายหรือไม่ โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยาน

 

เบิกความโดยสรุปว่าระหว่างช่วงวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยเข้ามาในมุ้งของพยานแล้วขู่มิให้ร้อง มิฉะนั้นจำเลยจะใช้มีดปาดคอพยานทำให้พยานไม่กล้าร้อง หลังจากนั้นจำเลยจับแขนขาและถอดกางเกงของพยานออกแล้วจำเลยถอดโสร่งของจำเลย และใช้อวัยวะเพศของจำเลยซึ่งแข็งตัว ดันเข้าไปในอวัยวะเพศของพยาน จากนั้นจำเลยกลับเข้าไปนอนในมุ้งกับภริยาจำเลย

 

พยานเล่าเรื่องที่จำเลยทำกับพยานครั้งสุดท้ายให้เพื่อนที่โรงเรียนฟัง ในข้อหานี้โจทก์มีนาง ว. ครูประจำ ชั้นของผู้เสียหายเป็นพยานเบิกความว่า ประมาณเดือนกันยายน 2546 ขณะที่พยานปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีนั้นมีเด็กหญิง ด.เพื่อนของผู้เสียหายพาผู้เสียหายมาพบพยาน และเล่าเรื่องที่ผู้เสียหายถูกจำเลยลูบคลำร่างกายแล้วข่มขืนกระทำชำเรา พยานจึงแจ้งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนทราบ

 

ซึ่งต่อมาบิดาของผู้เสียหายไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีแก่จำเลย เห็นว่า แม้ขณะเกิดเหตุจะได้ความว่านาง ล. ภริยาของจำเลยนอนในมุ้งใกล้ ๆ กันกับมุ้งของผู้เสียหายแต่นาง ล. เบิกความเป็นพยานจำเลยตอบโจทก์ถามค้านว่า พยานมักเข้านอนก่อนจำเลยซึ่งเจือสมกับคำเบิกความของผู้เสียหายที่ยืนยันว่านาง ล. เข้านอนในมุ้งก่อนพยานและจำเลยทุกครั้ง จำเลยจึงมีโอกาสที่จะใช้มุ้งของตนและมุ้งของผู้เสียหายเป็นที่กำบังสายตามิให้นาง ล. สังเกตเห็นการกระทำของจำเลยได้ง่าย

 

ประกอบกับได้ความจากผู้เสียหายว่า มีแสงไฟฟ้าจากร้านค้าข้างบ้านของจำเลยส่องผ่านเข้ามาในบ้านของจำเลยได้ จึงเชื่อได้ว่า ขณะเกิดเหตุทุกครั้งจำเลยได้ดับไฟฟ้าในบ้านเมื่อจำเลยจะเข้านอนหาได้เปิดไฟฟ้าไว้ในบ้านของจำเลยตามที่จำเลยนำสืบอย่างใดไม่

 

ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุน้อยและเป็นหลานภริยาของจำเลย หากจำเลยมิได้ล่วงลํ้าก้ำเกิน ผู้เสียหายก็ไม่มีเหตุที่ผู้เสียหายจะกล้ากล่าวหาจำเลยเป็นคดีนี้ เพราะผู้เสียหายมาอาศัยอยู่กับจำเลยและเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าอับอายแก่บุคคลทั่วไป ส่วนที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้กระทำผิดเพราะจำเลยไม่มีความรู้สึกทางเพศมาก่อนเกิดเหตุ 6 ถึง 7 ปี และไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับภริยามาตลอดเวลาดังกล่าว โดยจำเลยมีนาง ล. ภริยา ของจำเลยเป็นพยานเบิกความสนับสนุนนั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นโรคร้ายแรงอันใด ที่จะทำให้สูญเสียความรู้สึกทางเพศไปโดยสิ้นเชิง

 

ลำพังข้ออ้างของจำเลยที่ว่าจำเลยเป็นโรคกระเพาะและโรคถุงลมโป่งพองตามใบแสดงความเห็นแพทย์ ก็ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือ มาแสดงว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้จำเลยสูญเสียความรู้สึกทางเพศไปโดยสิ้นเชิงด้วย

 

เหตุที่จำเลยไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับนาง ล. ก็อาจจะเป็นเพราะว่านาง ล. มีอายุมากถึง 76 ปี แล้วรูปร่างของนาง ล. ย่อมเสื่อมโทรมไม่มีความสวยงามพอที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของจำเลยได้ผิดกับผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุน้อยที่กำ ลังจะเติบโตเป็นสาว

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าวพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำ หนักให้รับฟังได้ว่าในช่วงวันเวลาเกิดเหตุจำเลยเข้าไปในมุ้งของผู้เสียหาย แล้วลงมือกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายโดยใช้กำลังประทุษร้ายพยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้

 

ส่วนปัญหาว่าการกระทำของจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดสำเร็จหรือไม่นั้น

 

ได้ความจากคำเบิกความของนาง ว. พยานโจทก์ซึ่งตอบทนายจำเลยถามค้านว่าผู้เสียหายมีรูปร่างเล็ก หากเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน ทั้งได้ความตามบันทึกคำให้การของนาง ว. ในชั้นสอบสวนว่า ผู้เสียหายแจ้งแก่นาง ว.ขณะผู้เสียหายเล่าเรื่องให้ฟังว่า ตอนจำเลยกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราตนนั้น ผู้เสียหายไม่เจ็บและไม่มีเลือดออก

 

ประกอบกับได้ความจากผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ และบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของแพทย์หญิง จ. ผู้ตรวจร่างกายผู้เสียหายว่า จากการตรวจภายในไม่พบร่องรอยฉีกขาดของเยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายและไม่พบบาดแผลใด แม้จะได้ความว่าผู้เสียหายไปให้แพทย์ตรวจร่างกายในวันที่ 10 ตุลาคม 2546 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยลงมือข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายครั้งสุดท้ายในวันที่ 27 กันยายน 2546 ไปแล้วประมาณ 13 วัน แต่ถ้าหากอวัยวะเพศของจำเลยสามารถล่วงล้ำ เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายถึงครึ่งหนึ่งของอวัยวะเพศจำเลยจริงตามที่ผู้เสียหายเบิกความ ก็น่าจะทำให้เยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายฉีกขาด หรือพบร่องรอยบาดแผลในอวัยวะเพศของผู้เสียหายบ้างไม่มาก็น้อย

 

เมื่อพิจารณาประกอบพฤติการณ์แห่งคดีที่ผู้เสียหายมีรูปร่างเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกันและไม่รู้เดียงสา ในเรื่องเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงกับคำบอกเล่าของผู้เสียหายที่แจ้งแก่นาง ว. ว่าผู้เสียหายไม่เจ็บ และไม่มีเลือดออกขณะจำเลยลงมือข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ทำให้มีข้อสงสัยตามสมควรว่าอวัยวะเพศ ของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายหรือไม่ ซึ่งต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย

 

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยใช้กำลังประทุษร้ายและพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยเด็กหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ฎีกาของโจทก์และจำเลยฟังไม่ขึ้น

 

ส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความปกครองของจำเลยนั้น ข้อเท็จจริงคงฟังได้เพียงว่านาย ธ. นำผู้เสียหายมาฝากไว้กับนาง ล. ภริยาของจำ เลยช่วยดูแลเพื่อความสะดวกในการศึกษาของผู้เสียหายดังนั้นอำนาจปกครองยังคงอยู่กับนาย ธ. ผู้เป็นบิดาของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าเหตุฉกรรจ์

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษหนักขึ้น การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง และมาตรา 277 วรรคสอง (เดิม)

 

ประกอบมาตรา 80 ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำ เลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 279 วรรคแรก มานั้นเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และเนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปี ซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยหลายครั้งในระยะเวลาหลายวัน โดยมิได้บรรยายว่ากระทำผิดกี่กรรมและเมื่อใดบ้างไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดเพียงกรรมเดียว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีรวม 4 กระทง มานั้นจึงไม่ถูกต้อง

 

ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

 

อนึ่งในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 เดิมและให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ

 

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) ประกอบด้วยมาตรา 80 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

 

ข้อมูลจากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายสารสนเทศ สำนักงานวิชาการ เมื่อเมษายน 2556



15/Dec/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา