ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๒ จำเลยจ้างโจทก์ทำงานตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือน วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้กระทำความผิด อ้างว่าโจทก์ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำให้มีผลเลิกจ้างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า จำเลยจ้างโจทก์ มีกำหนดระยะเวลาจ้างนับแต่วันที่ ๒๖ เมษายน – ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒ ก่อนเริ่มงาน โจทก์ตกลงกับจำเลยว่า โจทก์จะดำเนินการติดตั้งตู้สมาร์ทล็อกเกอร์ ๒๐๐ ชุด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒ แต่เวลาผ่านไปเกือบสองเดือน โจทก์กลับไม่มีผลงานใด ๆ ประพฤติตัวไม่เหมาะสม
จำเลยให้โจทก์ทราบถึง ผลงานและปรับเปลี่ยนความประพฤติเสียใหม่ แต่โจทก์กลับไม่เข้าทำงานนับแต่วันที่ ๒๒ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยโดยนาย A ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการ เป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ให้มาทำงาน ผ่านเอเจนซี่จัดหางานของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ต่อมาวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. จำเลยไล่โจทก์ออกด้วยวาจา การที่โจทก์ไม่กลับไปทำงานตั้งแต่ วันที่ ๒๒ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ จะถือว่าขาดงานไม่ได้ แม้จำเลยจะกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงการทำงานแล้ว โจทก์ทำงานได้เพียง ๕๐ วัน จะครบ ๓ เดือน ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒ และการเจรจากับผู้ที่ต้องใช้บริการติดตั้งตู้สมาร์ทล็อกเกอร์นั้นก็เป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลาในการเจรจาตกลง ทั้งจะต้องรอการประเมินของผู้ต้องการใช้บริการ สภาพพื้นที่
การที่จำเลยด่วนเลิกจ้าง โจทก์หลังจากโจทก์ทำงานเพียง ๕๐ วัน และไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ๒๐๐,๐๐๐ บาท สินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า ๒๖๖,๖๖๖.๖๗ บาท ค่าจ้างค้างจ่าย ๙๕,๙๓๓.๔๒ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยอุทธรณ์ ในทำนองว่าสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและกำหนดความสำเร็จของงานไว้เป็น การแน่นอนตายตัวการเลิกจ้างจึงไม่ถือว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ หรือไม่ หาใช่ พิจารณาแต่เพียงว่านายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างประการเดียวเท่านั้นไม่ แต่จะต้องพิจารณาด้วยว่ากรณีการเลิกจ้างมีเหตุแห่งการเลิกจ้างและเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างหรือไม่
ดังนั้นเมื่อจำเลยด่วนเลิกจ้างโจทก์หลังทำงานได้เพียง ๕๐ วัน ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานฯ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย
อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๗๓๑/๒๕๖๓ (เลิกจ้างไม่เป็นธรรม)
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...