ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกาศแล้ว! “ลักษณะอันตราย-เจ็บป่วย” ที่นายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่ม , ประชาชาติธุรกิจ 18 สค. 63

วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่คณะกรรมการการแพทย์จะพิจารณาให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น

 

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่คณะกรรมการการแพทย์จะพิจารณาให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น

 

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

 

สำหรับสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ ระบุไว้เกี่ยวกับลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 5 ของกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 ให้มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

 

(1) การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามประกาศกระทรวงแรงงานว่าด้วยลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรังและ
(ก) มีการรักษาที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเช่นมีการผ่าตัดหลายครั้งหรือต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือ
(ข) มีภาวะแทรกซ้อนซึ่งทำให้ระยะเวลาการรักษาพยาบาลยาวนานขึ้นหรือผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น

 

(2) การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์

 

ทั้งนี้ ลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 6 ของกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 ต้องมีลักษณะตามข้อ 3 และมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้


(1) มีบาดแผลผิวหนังไหม้ในระดับลึกถึงหนังแท้ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าของพื้นที่ผิวของร่างกาย


(2) ผลการรักษาพยาบาลลูกจ้างเสียชีวิต


(3) มีลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเข้าข่ายตามกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 ข้อ 3 (1)- (7) ไม่น้อยกว่าสามข้อ


(4) มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน

 



22/Aug/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา