ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
18 ส.ค. น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ รายงาน
โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ไตรมาสที่ 2 ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.2 รวมครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.9 เป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การส่งออกสินค้าและบริการ การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง เช่น มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 17.8 การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 15 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5
นอกจากนี้ สภาพัฒน์ยังได้รายงานให้ ครม.รับทราบแนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2563 โดยคาดว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ 7.8 -7.3 โดยมีข้อจำกัดจาก รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับตัวลดลงมาก ภาวะความถดถอยรุนแรงของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และปัญหาภัยแล้ง
ขณะเดียวกัน สภาพัฒน์ยังได้รายงานให้ ครม.รับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ด้วย โดยระบุว่า ในไตรมาส 2 การจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง การว่างงานเพิ่มขึ้น และค่าจ้างแรงงานลดลง
อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.95 สาเหตุเกิดจากสถานที่ทำงานหยุด หรือปิดกิจการ แต่ในไตรมาสที่ 2 นี้ รัฐบาลได้มีมาตรการชดเชย เยียวยาให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ประกอบด้วย
1. แรงงานผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยจำนวน 920,000 คน
2. แรงงานผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่อยู่ในสถานประกอบการที่หยุดงานด้วยเหตุสุดวิสัย แต่ไม่สามารถรับเงินชดเชยเนื่องจากจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนไม่ครบ 6 เดือน จำนวน 59,776 คน ส่วนนี้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน
3. แรงงานนอกระบบที่เป็นกลุ่มแรงงานอิสระ 15.3 ล้านคน และเกษตรกร 7.75 ล้านคน ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีสภาพคล่องมากขึ้น และบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ได้
และรัฐบาลยังมีมาตรการด้านอื่น เช่น มาตรการภาษี มาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม มาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งช่วยลดผลกระทบให้ผู้ประกอบการ และรักษาการจ้างงานส่วนหนึ่งไว้ได้
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...