ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 555/2562
เรื่อง ลูกจ้างกระทำความผิดเรื่องทะเลาะวิวาท แต่นายจ้างลงโทษพักงาน 1 เดือน โดยไม่จ่ายค่าจ้างอันเป็นการลงโทษไปแล้ว นายจ้างจึงไม่อาจนำเอาการกระทำความผิดเดิมที่ลงโทษไปแล้วมาลงโทษซ้ำโดยการเลิกจ้างได้อีก การเลิกจ้างจึงมีผลเท่ากับเป็นการลงโทษเลิกจ้าง โดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดใดขึ้นใหม่อีก เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เดือนสิงหาคม 2557 โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด ค่าจ้างสุดท้ายเดือนละ 20,966 บาท วันที่ 7 ตุลาคม 2560 จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เป็นเวลา 1 เดือน โดยไม่มีการสอบสวนและไม่จ่ายค่าจ้าง
ต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ อ้างว่าฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับฯ ก่อการทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน ฯลฯ โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ทั้งการพักงานไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงาน ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การว่า โจทก์และนางสาว ก. พนักงานของจำเลยทะเลาะวิวาทกันในสถานที่ทำงานในเวลาทำงาน จำเลยจึงลงโทษนางสาว ก. ด้วยการตักเตือน และไม่พิจารณาโบนัส ส่วนโจทก์ลงโทษพักงาน 1 เดือน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง
ต่อมาเมื่อครบกำหนดพักงาน โจทก์กลับเข้าทำงานและแจ้งไม่ประสงค์จะทำงานต่อไป ให้จำเลยเลิกจ้างและจ่ายค่าชดเชย
จำเลยจึงออกหนังสือเลิกจ้างโจทก์ และระหว่างพักงานจำเลยออกคำสั่งให้โจทก์เขียนโครงการพัฒนาการตลาดและนำเสนอต่อจำเลย แต่โจทก์ไมได้เสนอ จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่ง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า การที่จำเลยลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานดังกล่าว เป็นโทษทางวินัยที่อยู่ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างสามารถลงโทษได้
แต่เมื่อปรากฏว่า ในระหว่างพักงานจำเลยได้มอบหมายงานให้โจทก์ทำ โดยให้เขียนโครงการพัฒนาการตลาด เสนอต่อจำเลยในวันสุดท้ายของการพักงาน จึงมีผลเท่ากับจำเลยให้โจทก์ทำงานในระหว่างพักงาน โดยไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนในระหว่างนั้น
ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมจึงชอบแล้ว
และเมื่อจำเลยพักงานโจทก์โดยไม่จ่ายค่าจ้างอันเป็นการลงโทษไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจนำเอาการกระทำความผิดเดิมที่ลงโทษไปแล้วมาลงโทษซ้ำโดยการเลิกจ้างได้อีก
การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มีผลเท่ากับเป็นการลงโทษเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำความผิดใดขึ้นใหม่อีก การเลิกจ้างโจทก์เท่ากับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
พิพากษายืน
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...