ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คณะรัฐมนตรีผ่านร่าง พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หยุดงานต้องแจ้งล่วงหน้า 24 ชม.,29 กันยายน 2563

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. …. ซึ่งเป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ที่บังคับใช้มาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป

 

โดยปรับปรุงเกี่ยวกับวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน การห้ามปิดงานหรือการนัดหยุดงาน หลักเกณฑ์การจัดตั้งและการดำเนินงานของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์ และสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ

 

สาระสำคัญ ดังนี้

 

1.ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน เช่น 1) กำหนดระยะเวลาการยื่นข้อเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ต้องยื่นภายใน 60 วันก่อนวันที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมจะสิ้นสุดลง 2) กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำโดยนายจ้างกับสหภาพแรงงาน ซึ่งมีลูกจ้างเป็นสมาชิกเกินกว่า 2 ใน 3 ของลูกจ้างทั้งหมด มีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างทุกคน

 

2.วิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน กรณีที่มีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ดำเนินการประนอมข้อพิพาทนั้นต่อไป หรือไปเจรจาตกลงกันเอง หรือส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยการกระทำอันไม่เป็นธรรมและข้อพิพาทแรงงานเป็นผู้ตัดสิน


3.การปิดงานและการนัดหยุดงาน เช่น

1)กำหนดให้นายจ้างอาจปิดงานหรือลูกจ้างอาจนัดหยุดงานได้ แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและอีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก่อน เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

2) กำหนดให้การปิดงานหรือการนัดหยุดงานในงานที่เป็นบริการสาธารณะ ได้แก่ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์หรือโทรคมนาคมบรรเทาสาธารณภัย ควบคุมการจราจรทางอากาศ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด โดยฝ่ายที่ปิดงานหรือนัดหยุดงาน จะต้องจัดให้มีบริการสาธารณะขั้นต่ำเท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน

 

4.กำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการกระทำอันไม่เป็นธรรมและข้อพิพาทแรงงาน ประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้

 

5. ปรับอัตราโทษให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น มาตรา 87 ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 18 หรือ มาตรา 19 (การปิดงานหรือนัดหยุดงาน) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 90 ผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการสหภาพแรงงานที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการจัดตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการจัดสัมมนาไตรภาคี เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้ จาก 15 กระทรวงที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 47 แห่ง และจัดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

ในลำดับต่อไป จะส่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป



09/Oct/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา