ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

“แรงงานข้ามชาติ” ทั่วโลกลดฮวบ ฟาดหางเศรษฐกิจประเทศร่ำรวย , ประชาติธุรกิจ 9 ตค.63

“แรงงานต่างชาติ” นับเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศร่ำรวยทั่วโลก ที่ต่างประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน แต่การโหมกระแสต่อต้านแรงงานต่างชาติในหลายประเทศ รวมถึงสถานการณ์ของโควิด-19 นำมาซึ่งการปิดพรมแดนระหว่างประเทศ ที่ทำให้แนวโน้มแรงงานต่างชาติที่ลดลง กำลังกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก

 


นิกเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานข้อมูล “องค์การสหประชาชาติ” (ยูเอ็น) ว่า ในปี 2019 ประชากรในประเทศที่มีรายได้สูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2000 ราว 7% หรือราว 82 ล้านคน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นแรงงานที่อพยพมาจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มากถึง 35 ล้านคน

 


โดยที่ผ่านมา แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ได้เข้าไปรองรับความต้องการแรงงานในประเทศพัฒนาแล้ว ที่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้แรงงานเหล่านี้มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยข้อมูลของธนาคารโลกชี้ว่า สัดส่วนจีดีพีต่อหัว ของประเทศพัฒนาแล้ว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนแรงงานข้ามชาติที่มากขึ้นด้วย

 

กระแสการต่อต้านแรงงานต่างชาติในหลายประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะ “สหรัฐอเมริกา” ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกกฎระเบียบใหม่กีดกันแรงงานต่างชาติหลายต่อหลายครั้ง เพื่อรักษาตำแหน่งงานให้ชาวอเมริกัน และเหตุผลหนึ่งในการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของ “สหราชอาณาจักร” คือต้องการออกจากข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายในสหภาพ เพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยในการควบคุมการย้ายถิ่นฐานภายในประเทศของอังกฤษ


อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซ้ำเติมสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากมาตรการปิดกั้นพรมแดนเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส โดยองค์การสหประชาชาติคาดว่า หากจำนวนแรงงานต่างชาติในประเทศพัฒนาแล้วหายไป จะทำให้ประชากรในประเทศเหล่านั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2030 จำนวนประชากรในประเทศพัฒนาแล้วจะต่ำกว่าการคาดการณ์เดิมถึง 24 ล้านคน และประชากรเกือบ 1,300 ล้านคนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบันจะลดลงเหลือราว 1,200 ล้านคนภายในปี 2050

 

แนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเริ่มเห็นแล้วในกรณีของ “สหรัฐ” ที่การกีดกันแรงงานข้ามชาติ

 

โดยเฉพาะการหายไปของแรงงานในภาคการเกษตร จากกฎระเบียบใหม่ที่ควบคุมโควตาการมีแรงงานต่างชาติในเซ็กเตอร์ดังกล่าวไม่เกิน 4% ของแรงงานที่จำเป็นทั้งหมด

 

“สหพันธ์สำนักฟาร์มอเมริกัน” ระบุว่า ภาคการเกษตรของสหรัฐต้องแบกรับต้นทุนสูงขึ้นจากการจ้างแรงงานในประเทศที่มีค่าแรงสูงกว่า ทำให้ค่าจ้างแรงงานมีสัดส่วนถึง 35-48% ของต้นทุนการผลิต ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องล้มละลาย โดยตั้งแต่ปีการเพาะปลูกในเดือน ก.ค. 2019 มีผู้ประกอบการเกษตรยื่นล้มละลายแล้ว 580 ราย เพิ่มขึ้น 8% จากปี 2018

 

“สเตน โวลล์เซต” ศาสตราจารย์ด้านสุขภาพประจำมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ชี้ให้เห็นความเสี่ยงของสถานการณ์ด้านประชากรศาสตร์ทั่วโลก โดยระบุว่าอัตราการเจริญพันธุ์ในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะลดลงต่ำกว่าระดับ 2.1 ซึ่งหมายถึงจำนวนประชากรจะลดลงทั่วโลก และแนวทางที่จะช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถรักษาขนาดของประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ได้คือนโยบายการย้ายถิ่นฐานเสรี สอดคล้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า การมีแรงงานที่หลากหลายจะทำให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งมากขึ้น



09/Oct/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา