ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
คอลัมน์ดุลยภาพ ดุลยพินิจ โดย สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์
การบูรณาการหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Integration ไม่ได้หมายความแค่การปรับตัวของแรงงานต่างชาติเข้ากับสังคมของประเทศปลายทางเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการยอมรับของสังคมในประเทศปลายทางต่อการเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกันกับเจ้าของประเทศด้วย กล่าวคือการบูรณาการเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนร่วม 2 ส่วน ส่วนหนึ่งได้แก่คนต่างชาติที่เข้ามาร่วมสังคมและอีกส่วนหนึ่งได้แก่ชุมชนที่รับคนต่างชาติเข้ามา
ในปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้แรงงานต่างชาติอย่างกว้างขวางสหประชาชาติรายงานว่า ในปี 2553 มีประชากรที่ไปอาศัยอยู่นอกประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตนประมาณ 213.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรโลก 7 พันล้านคน ในจำนวนประชากรที่ย้ายถิ่นนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศประมาณว่า 105 ล้านคนเป็นแรงงาน และการย้ายถิ่นมักมีปัญหาสังคมติดตามมาทำให้ประเด็นการบูรณาการแรงงานต่างชาติเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ ในกรณีของประเทศไทยที่มีแรงงานต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาพำนักอาศัยไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคน นั้นปัญหาการบูรณาการแรงงานต่างชาติและผู้ติดตามก็นับเป็นเรื่องใหญ่ในระดับโลก
ขณะนี้ผู้เขียนเองได้รับทุนวิจัยจากToyota Foundation International Grant ให้ศึกษาเรื่องนี้ของประเทศไทย (โดยเน้นที่แรงงานระดับล่างจากพม่า กัมพูชา และลาว) ร่วมกับสถาบัน Philippines Institute for Development Studies (PIDS) ของฟิลิปปินส์ และสถาบันวิจัย SMERU ของอินโดนีเซียซึ่งต่างคนก็รับผิดชอบวิจัยเรื่องประเทศตน แต่ทำร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิดกัน
เรื่องอย่างนี้แสดงว่าต่างชาติเขาให้ความสำคัญการบูรณาการแรงงานต่างชาติมาก
การบูรณาการแรงงานต่างชาติประกอบด้วยประเด็นใด
สําหรับประเทศไทยซึ่งเป้าใหญ่อยู่ที่แรงงานระดับล่างจาก 3 ประเทศเพื่อนบ้านมีประเด็นที่สำคัญหลายด้าน ตั้งแต่คุณภาพชีวิตในชีวิตประจำวันของแรงงานต่างชาติ (รวมถึงที่พักอาศัย การเข้าได้กับชุมชน ตลอดจนปัญหาอาชญากรรม) การทำงาน สุขภาพและการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ การคุ้มครองทางสังคม การศึกษา สิทธิมนุษยชนและการเลือกปฏิบัติ การเอาเปรียบและข่มเหงรังแก ตลอดจนความหวาดกลัวเจ้าหน้าที่ที่ประพฤติมิชอบ
ปัญหาต่างๆ ของแรงงานต่างชาติในประเทศไทยมีผู้ติดตามศึกษากันมานานแล้วทั้ง นักวิชาการ แพทย์ รัฐบาล องค์กรเอกชนและสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ
เรื่องที่ได้ยินคุ้นหูในอดีตสำหรับแรงงานต่างชาติคือการได้รับค่าจ้างต่ำ ที่พักอาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ ปัญหาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ การถูกจำกัดสิทธิ เช่น ยึดหนังสือเดินทาง การไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือในบางจังหวัด การศึกษาของบุตร การถูกประทุษร้าย ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้คือการถูกรีดไถจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งในนิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Migrant workers in Thailand : Inhospitality กล่าวถึงปัญหาหลายอย่างของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ตอนหนึ่งพูดถึงเจ้าหน้าที่ไทยว่า "แรงงานต้องถูกข่มขู่ ข่มขืน หรือแม้กระทั่งถูกฆ่าโดยเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งควรจะเป็นผู้คุ้มครองเขา" The Economist อ้างองค์กร Human Right Watch บอกว่า "เจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อแรงงานต่างชาติเหมือนกับตู้เอทีเอ็มเคลื่อนที่"
นั่นอาจถือว่าเป็นเรื่องในอดีตแต่ปัจจุบันระบบการบริหารจัดการแรงงานต่างชาติจากประเทศเพื่อนบ้านได้พัฒนาไป ณ ระดับหนึ่ง ดังนั้น สถานการณ์ของแรงงานต่างชาติคงดีขึ้น
แต่การศึกษาของนักวิชาการชั้นนำอย่าง Jerry Huguet อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ และ Claudia Natali ของประเทศไทยเมื่อปีที่แล้วนี้ (ตุลาคม 2555) ให้ข้อมูลว่ายังมีแรงงานต่างชาติจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงงานดีๆ (decent work) สิทธิมนุษยชน และบริการด้านสุขภาพ
แรงงานต่างชาติจาก 3 ประเทศเพื่อนบ้านอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ หนึ่ง กลุ่มที่เข้ามาโดยถูกกฎหมาย (นำเข้าตามข้อตกลงเอ็มโอยู) หรือได้ผ่านกระบวนการฟอกตัวให้ถูกกฎหมายโดยวิธีพิสูจน์สัญชาติ สอง กลุ่มที่เข้าเมืองผิดกฎหมายแต่ได้รับการผ่อนผันให้ขึ้นทะเบียนโดยได้รับอนุญาตให้ทำงานได้เท่าที่รัฐบาลกำหนดและสาม กลุ่มที่เข้าเมืองผิดกฎหมายแต่ไม่เข้ารายงานตัวเพื่อขึ้นทะเบียน ซึ่งกลุ่มหลังนี้ย่อมจะมีปัญหาในการบูรณาการมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางกฎหมายและใช้ชีวิตอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ แต่ที่จริงจะเป็นอย่างที่ The Economist กล่าว คือการมีหนังสือเดินทางถูกต้องก็ไม่สามารถคุ้มครองแรงงานต่างชาติถูกกฎหมาย (แล้ว) ให้พ้นมือเจ้าหน้าที่และนายจ้างชั่วๆ ได้ แรงงานต่างชาติถูกกฎหมายก็ยังไม่สามารถเดินทางได้อย่างอิสระ หรือรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานได้
นอกจากนั้นแล้ว การศึกษาของ Huguet อภิชาติ และ Natali ก็ยังบอกว่า ถึงแม้กรณีของแรงงานต่างชาติถูกกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานของไทย แต่ในทางปฏิบัติแรงงานต่างชาติก็มิได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน อาทิ การรับค่าจ้างขั้นต่ำ การคุ้มครองอุบัติเหตุจากการทำงานโดยการเข้าร่วมกองทุนทดแทน หรือการยึดเอกสารบัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทาง การไม่อนุญาตให้ตั้งสหภาพแรงงาน การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพก็เช่นกัน รัฐบาลไทยยังมีปัญหาในการให้บริการด้านสุขภาพแก่แรงงานต่างชาติทั้งในแง่งบประมาณ การเข้าถึงบริการและคุณภาพในการให้บริการ
ผลงานวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของผู้นำแรงงานไทยเช่น คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงาน ซึ่งมีแถลงการณ์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555 ว่า มาตรการที่ออกมาใช้กับแรงงานต่างชาติเป็นมาตรการเพื่อการควบคุม มิใช่มาตรการเพื่อการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติ และว่า แม้การดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานะแรงงานต่างชาติ 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา ที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานตามมติรัฐมนตรีให้เป็นแรงงานที่เข้าเมืองถูกกฎหมายได้เสร็จสิ้นมาตั้งแต่วันที่14 ธันวาคม 2555 ก็ยังมีแรงงานข้ามชาติอีกนับล้านคนที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการดังกล่าว
ทั้งนี้ มีสาเหตุหลัก คือ แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารประจำตัวอะไรเลย รวมทั้งเอกสารที่แรงงานใช้ในการทำงานและนายจ้างที่จ้างงานอยู่จริงไม่ตรงกัน ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้แรงงานจำนวนไม่น้อยไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ และต้องกลายเป็นแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายในอนาคต ซึ่งกระทรวงแรงงานยังไม่มีมาตรการในการแก้ไขข้อจำกัดของแรงงานกลุ่มนี้
ขณะนี้ ถ้าไปดูตัวเลขแรงงานต่างชาติจาก 3 ประเทศเพื่อนบ้าน (จากรายงานสถิติของกระทรวงแรงงาน) จะเห็นว่าในเดือนมกราคม พ.ศ.2555 เรายังมีแรงงานต่างชาติประเภทขึ้นทะเบียนอยู่ถึง 1.25 ล้านคน ขณะที่มีแรงงานต่างชาติประเภทเอ็มโอยู (พิสูจน์สัญชาติและนำเข้า) ประมาณ 6 แสนคน มาปลายปี (ธันวาคม 2555) แรงงานขึ้นทะเบียนเหลือ 167,881 คน หายไปกว่า 1 ล้านคน ในขณะที่แรงงานเอ็มโอยูเพิ่มเพียง 3 แสนคน หายไป 7 แสนคน อยากรู้จังว่าไปไหน ระหว่างถูกส่งกลับ กลับลงใต้ดิน หรือรอกระบวนการนำเข้าสู่ระบบต่อไป แต่น่าจะมีตัวเลขออกมาชัดๆ ผู้เขียนคิดว่าจะไปกราบเรียนถามเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานดู
ที่ห่วงตรงนี้มากคือกระบวนการบูรณาการแรงงานต่างชาติอาจจะต้องนับหนึ่งใหม่และประเทศจะเสียโอกาสไปมหาศาล
ที่มา : นสพ.มติชน 13 ธันวาคม 2556
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...