ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

รมช.แรงงาน ชี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ปี 2545 สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการ (สปก.) ร่วมพัฒนาทักษะฝีมือ พนักงานได้ปีละกว่า 4 ล้านคน เพื่อสร้างแรงงานคุณภาพ ปูรากฐาน ศก.ให้เข้มแข็ง ,ไทยรัฐ 4 ธค. 63

3 ธ.ค. ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายหน้าที่ที่สำคัญ เพื่อช่วยแก้ปัญหาแรงงานขาดทักษะฝีมือ หรือมี แต่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน 

 

อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาดังกล่าว ไม่สามารถดำเนินการเพียงกระทรวงแรงงานเพียงกระทรวงเดียว แต่ต้องมีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและพัฒนาทักษะ รวมถึงภาคเอกชนที่ต้องร่วมมือกัน ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรที่มีภายใต้ภารกิจของตนเอง 

 

ในส่วนกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานที่ตนเองกำกับดูแลนั้น มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากำลังแรงงานให้มีศักยภาพ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งกำลังแรงงานในสถานประกอบกิจการมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบกิจการได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เป็นจำนวนร้อยละร้อยของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมรวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน มีการปรับปรุงระบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้สถานประกอบกิจการ สามารถยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ซึ่งหลังจากนายทะเบียนให้ความเห็นชอบหลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแล้ว สถานประกอบกิจการสามารถจัดพิมพ์หนังสือรับรองได้ด้วยตนเอง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป 

 

สำหรับการยื่นขอรับรองหลักสูตรที่ สปก.จัดอบรมแบบออนไลน์นั้น อยู่ระหว่างดำเนินการร่างกฎหมาย กำหนดรายละเอียด ขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบ รวมถึงรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ที่จะสามารถรับรองได้ และในปี 2564 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีเป้าหมายดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ สปก.ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 4 ล้านคน

 

ด้านนายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2563 กพร. ได้จัดสัมมนา ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ขึ้น เพื่อให้ผู้อำนวยการสถาบันหรือผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกว่า 200 คน ได้รับทราบเป็นแนวทางการส่งเสริม สปก.ในการพัฒนาฝีมือแรงงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต่อไป 

 

อีกทั้งจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือ สปก.ที่อยู่ในข่ายบังคับต้องยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปี พ.ศ. 2563 ด้วยการลดสัดส่วนจำนวนลูกจ้างที่จัดให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน จากร้อยละ 50 เหลือเพียงร้อยละ 10 

 

โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีจำนวนสถานประกอบกิจการที่เป็นเป้าหมายที่ต้องได้รับคำแนะนำจำนวน 14,704 แห่ง ดังนั้นเจ้าหน้าที่ ก.พ.ร.จะต้องมีความพร้อม เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความชัดเจนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงได้จัดโครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในครั้งนี้


“สถานประกอบกิจการที่ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน แต่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ สามารถติดต่อหน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ทั่วประเทศทั้ง 76 จังหวัดและในกรุงเทพมหานคร หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 เพราะการได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบกิจการ จะส่งผลต่อศักยภาพของแรงงานไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ” รมช.แรงงาน กล่าว



05/Dec/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา