ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 12 มกราคม นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ระลอกใหม่มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวออกไปในวงกว้าง
ส่งผลกระทบต่อนายจ้าง สถานประกอบกิจการ และลูกจ้าง อาจเกิดวิกฤตด้านแรงงานที่รุนแรง จนทำให้สถานประกอบกิจการบางแห่งจำเป็นต้องลดทุนการผลิต ลดชั่วโมงการทำงานของลูกจ้าง หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราว
โดยใช้มาตรา 75 ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ลดพนักงาน หรือเลิกกิจการในท้ายสุด ซึ่งจะเกิดความเดือดร้อนแก่ลูกจ้างจำนวนมาก
ดังนั้น เพื่อลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อความสงบสุขในวงการแรงงาน จึงขอให้นายจ้าง ลูกจ้างควรเปิดใจปรึกษาหารือร่วมกันก่อนหยุดกิจการตามมาตรา 75 หรือเลิกจ้าง
โดยนำมาตรการและแนวปฏิบัติการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต และมาตรการและแนวทางบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) พยายามมุ่งส่งเสริมให้เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการมาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดี กสร. กล่าวว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ นายจ้างควรนำแนวปฏิบัติว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตมาปรับใช้ในสถานประกอบการ อาทิ นายจ้างควรเปิดเผยผลประกอบการตามสภาพความเป็นจริงแก่ฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้างลูกจ้างหารือร่วมกันในการประหยัดค่าใช้จ่าย หลีกเลี่ยงการชุมนุมเผชิญหน้าด้วยความรุนแรง
หากดำเนินการแล้วสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย จึงค่อยใช้มาตรการหยุดกิจการบางส่วนชั่วคราว หรือทั้งหมดตามมาตรา 75 แต่ขอให้ดำเนินการตามกฎหมาย
โดยจะต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่และลูกจ้างทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนเริ่มวันหยุดกิจการ ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน
และหากจำเป็นต้องเลิกจ้างให้นำมาตรการและบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างมาปรับใช้ ซึ่งมี 3 มาตรการ คือ 1.มาตรการลดค่าใช้จ่าย 2.มาตรการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และ 3.มาตรการลดจำนวนลูกจ้าง โดยขอให้การเลิกจ้างเป็นทางเลือกสุดท้ายในการตัดสินใจ
อธิบดี กสร. กล่าวและว่า หากนายจ้างตกลงกับลูกจ้างในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เช่น ลดวันทำงาน ลดค่าจ้าง ก็สามารถทำได้ แต่จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...