ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ทางไม่รอดของแรงงานและสังคมไทย? , โพสต์ทูเดย์ 12 มค. 64

คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย...ผศ. ดร.อัธกฤตย์ เทพมงคล ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์www.econ.nida.ac.th; athakrit.t@nida.ac.th


ไม่อ้อมค้อมนะครับ วันนี้ผู้เขียนเอาข้อมูลการสำรวจความเดือดร้อนของแรงงานไทยจากวิกฤติโควิด-19 ที่ทางคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมมือกับ Thai Asia foundation จัดทำการสำรวจทางโทรศัพท์ผ่านทาง NIDA poll โดยแบ่งการสำรวจเป็นสามรอบได้แก่ รอบเดือน พฤษภาคม สิงหาคม และ พฤศจิกายน ปี 2563

 

ความพิเศษของข้อมูลนี้คือเราสามารถติดตามชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานคนเดิมได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่าครึ่งปี ทำให้เราสามารถเห็นว่าโควิด-19 เปลี่ยนแปลงชีวิตแรงงานแต่ละคนอย่างไรในช่วงเวลาต่าง ๆ โดยจำนวนแรงงานที่เราติดตามได้มามีจำนวนทั้งสิ้น 1,286 คน จากทั่วประเทศ


ย้อนกลับไปในการสำรวจครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม เราพบว่าแรงงานไทยกว่าร้อยละ 69 มีรายได้ที่ลดลง ซึ่งเมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยแล้วพบว่ารายได้ลดลงกว่าร้อยละ 47 ซึ่งเยอะมาก สาเหตุของการที่รายได้ลดลงอันดับหนึ่งก็คือ ไม่มีลูกค้า รองลงมาก็คือ กิจการถูกสั่งให้ปิด เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่ระบาดหนักจนรัฐบาลต้องมีการสั่ง lockdown เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อ เวลาผ่านไปจาก เราผ่านการ lockdown ครั้งแรก ผ่านมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูต่าง ๆ ของรัฐ สู่ช่วงใช้ชีวิตได้ภายใต้ new normal ของการเว้นระยะห่างและเศรษฐกิจที่ไม่พึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติ กว่าครึ่งปีที่เรา”คิดว่า”รอดกันมา ตกลงเรารอดจริงมั้ย?

 

ในการสำรวจ เราถามรายได้ของแรงงานไทยในเดือน มกราคม ปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงก่อนวิกฤติโควิด 19 แล้วถามการเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบการสัมภาษณ์ เราพบแรงงานจำนวน 245 คน หรือกว่าร้อยละ 19 ที่บอกเราว่าในกว่าครึ่งปีนี้เขามีรายได้ที่ลดลงอย่างมาก มากซะเกินกว่ารายได้ก่อนโควิดที่แจ้งเราไว้ ซึ่งการที่คนคนหนึ่งจะมีรายได้ติดลบแบบนี้นั้นอาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนในการสำรวจ หรืออาจจะแปลว่าเขาไม่มีรายได้เหลือและต้องไปขุดเงินเก็บ ทรัพย์สิน หรือยืมหนี้ยืมสินมาประทังชีวิต

 

ถ้าตัดคนกลุ่มนี้ออกไป ในแรงงาน 1,041 ชีวิตที่เหลืออยู่ ในภาพรวม เราพบว่าถ้าเราเทียบรายได้ของเดือนพฤศจิกายนกับเดือนมกราคมซึ่งเป็นรายได้ก่อนวิกฤติโควิด-19 พบว่าแรงงานไทยมีรายได้เฉลี่ยลดลงร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับตัวเลขร้อยละ 47 ในเดือนพฤษภาคม เราก็ยังดีใจที่ได้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของรายได้แรงงานอยู่บ้าง แม้ว่าจะไม่มากนักก็ตาม


แต่เมื่อเราจ้องมองให้ละเอียดขึ้น เราพบว่าในกลุ่มตัวอย่างนี้มีแรงงานที่รายได้ไม่ได้ถูกกระทบเชิงลบโดยโควิด-19 เลยอยู่ทั้งสิ้นร้อยละ 30 ที่เหลือร้อยละ 70 คือมีรายได้ลดไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม นั่นคือกลุ่มที่มีการฟื้นตัวของรายได้บ้างไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 ส่วนอีกร้อยละ 55 คือกว่าครึ่งปีผ่านไปแล้วเขายังไม่สามารถที่จะปรับตัวให้มีรายได้ฟื้นกลับมาได้เลย ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเราพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีการฟื้นตัวของรายได้เลยนี้ เราพบว่ามีถึงร้อยละ 23 เป็นแรงงานที่รายได้หดเป็น 0 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และก็ยังเป็น 0 เรื่อยมาจนถึงเดือน พฤศจิกายน


คำถามที่ผลุดขึ้นในหัวผู้เขียนทันที ณ ตอนที่เห็นตัวเลขนี้คือ พวกเขาอยู่กันได้อย่างไรกว่าครึ่งปีที่ผ่านมา แล้วตอนนี้ที่มีการระบาดของโควิดระลอกที่สอง คนพวกนี้จะต้องมีรายได้เป็น 0 ต่อเนื่องอีกนานแค่ไหน แล้วถ้ามันเป็นแบบนี้ต่อไป ปลายทางของคนกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร ไม่ฆ่าตัวตายก็ปล้นจี้ใช่หรือไม่ เพราะอย่างน้อยในคุกมันก็มีข้าวให้เขากิน แล้วถ้าเราคิดเป็นร้อยละของแรงงานตัวอย่าง 1,041 เราจะพบว่าคนกล่มนี้มีขนาดถึงกว่าร้อยละ 13 แล้วถ้ายิ่งเราคิดย้อนไปรวมแรงงาน 245 คนที่มีรายได้ติดลบ เราจะพบว่าแรงงานกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากนี้มีถึงร้อยละ 29 ของแรงงานทั้งหมด สังคมไทยจะอยู่ได้อย่างไรถ้าแรงงานกว่าร้อยละ 30 ฆ่าตัวตายหรือเขาสู่วงการอาชญากรรม ยิ่งคิดยิ่งกลุ้ม

 

นี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องคิดอย่างหนัก คนไม่ได้ตายเพราะติดโควิด-19 เท่านั้น เรื่องปากท้องก็ฆ่าคนได้เช่นกัน นี่เป็นเวลาที่คนไทยทุกคนจะต้องพักการทะเลาะกัน แล้วเอื้อเฟื้อเมตตาต่อกันให้มากครับ ถ้าคนจำนวนมากขนาดนี้อยู่ไม่ได้ คุณก็อย่าคิดว่าคุณจะอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างสงบสุขนะครับ ขออภัยผู้อ่านทุกท่านนะครับแต่นี้ไม่ใช่คำขู่ มันเป็นความจริงจากข้อมูลที่ผู้เขียนเองก็กลัวครับ


หมายเหตุ : ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์



13/Jan/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา