ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 1499 – 1509/2563
คดีนี้โจทก์กับพวกรวม 11 คน ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับพวกโดยอ้างว่าไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
แต่แท้จริงจำเลยมิได้ปิดกิจการ การเลิกจ้างจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร ขอบังคับให้จำเลยจ่าย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์คนละ 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า จำเลยประสบปัญหาเศรษฐกิจและมีหนี้สินทางการค้าจำนวนมาก ทั้งประสบปัญหาการปกครองและการบริหารงานในสถานประกอบกิจการ โดยสหภาพแรงงานกับพนักงานจำนวนหนึ่งแสดงตนเป็นปรปักษ์และต่อต้านด้านการบริหาร
จำเลยเลิกจ้างยังได้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทุกคนด้วย
ศาลแรงงานภาค 2 พิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์กับพวกอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์กับพวกทั้ง 11 คน เป็นลูกจ้างประจำรายเดือน จำเลยได้รับคำสั่งการผลิตจากลูกค้าแล้วไม่สามารถทำการผลิตได้ตามเป้าหมาย และสินค้ามีปัญหา ทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้
จนทำให้บริษัทที่สั่งการผลิตไปว่าจ้างบริษัทอื่นแทน เป็นเหตุให้รายได้ของจำเลยลดลง เมื่อพิจารณาแบบนาส่งงบการเงินของจำเลยตั้งแต่ปี 2557 – 2561 ปรากฏว่าจำเลยมีกำไรสุทธิลดลงอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งปี 2561 มีกำไรเพียง 94,774.51 บาท ทั้งจำเลยยังมีหนี้ค้างชำระแก่บุคคลภายนอกซึ่งถูกเจ้าหนี้ฟ้องหลายคดีรวม 11,653,993.91 บาท
แต่จำเลยเป็นเจ้าหนี้ที่ฟ้องลูกหนี้เพียง 4,585,551.19 บาท จึงฟังได้ว่าจำเลยประสบปัญหาทางการเงิน ยอดสั่งซื้อลดลง ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ
ประกอบกับก่อนเลิกจ้างและปิดกิจการโรงงานนั้น จำเลยได้ให้บริษัท เอ ทำสัญญาเช่าโรงงานและโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จึงเชื่อได้ว่าจำเลยหยุดประกอบกิจการอันเนื่องจากเศรษฐกิจที่ถดถอย
เมื่อจำเลยเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมด โดยไม่ปรากฏว่ามีการกลั่นแกล้งหรือเลือกปฏิบัติ โดยก่อนเลิกจ้างมีการปิดประกาศกำหนดระยะเวลาให้ลูกจ้างทราบและจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีความจำเป็นและมีเหตุผลสมควรเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ที่โจทก์กับพวกอุทธรณ์ในทำนองว่า จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากโจทก์กับพวกเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ทำให้จำเลยไม่พอใจจึงหาทางกำจัด หรือล้มสหภาพก็ดี จำเลยไม่ได้ปิดกิจการเพียงแต่ให้บริษัท เอ เช่าโรงงาน
เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์กับพวก
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...