ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
กรณีที่นายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนให้ผู้ประกันตน โดยสถานประกอบการดังกล่าวเลิกกิจการหรือหยุดกิจการชั่วคราว และไม่สามารถติดตามตัวนายจ้างได้ หรือนายจ้างไม่แจ้งขึ้นทะเบียนในกรณีอื่นๆ ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารหรือพยานบุคคล และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นผู้ประกันตนและมีสิทธิได้รับเงินชดเชยการว่างงาน
1) ให้ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนก่อนว่า หากเป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ และมีหนังสือแจ้งผลให้ผู้ประกันตนทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพแทน
2) ภายในปีปฏิทินเดียวกันเคยใช้สิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากถูกเลิกจ้างมาแล้วครบหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ
3) ภายในปีปฏิทินเดียวกันเคยใช้สิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากลาออกมาแล้วครบเก้าสิบวัน ให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ
4) กรณีถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดหรือลาออกให้พิจารณาจ่ายประโยชน์ทดแทนตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กฎหมายกำหนด
5) กรณีถูกเลิกจ้างโดยนายจ้างแจ้งว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 78 (2) ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากผู้ประกันตน นายจ้าง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอกสาร ที่สามารถให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้
หมายเหตุ - มาตรา 78 ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานต่อเมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือนและต้องอยู่ภายในระยะเวลาสิบห้าเดือนก่อนการว่างงานและจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน พร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้หรือต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงานและได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ โดยต้องไปรายงานตัวไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง
(2) การที่ผู้ประกันตนว่างงานต้องมิใช่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาเจ็ดวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา 29 มกราคม 2564
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...