ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ลดฮวบ “การบินไทย” เปิดแผนหั่นสิทธิลาพักร้อน-โอที 50% บังคับใช้ 1 พ.ค.นี้ , ฐานเศรษฐกิจ 26 กพ. 64

รายงานข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าปัจจุบันการบินไทยได้ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท โดยออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานใหม่ เพื่อบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2564

 

ขณะเดียวกันการบินไทย ได้มีการปรับเกณฑ์การกำหนดจำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับพนักงานที่มีอายุงานครบ 1 ปี ขึ้นไป โดยใช้เกณฑ์อายุงานในการพิจารณาสิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีกับพนักงานทุกระดับ จากเดิม ที่มีการยกเว้นให้สิทธิพิเศษสำหรับผู้บริหารระดับ VP, MD สามารถลาหยุดพักผ่อนได้มากที่สุดคือ จำนวน 28 วันทำการ โดยไม่ต้องพิจารณาจากอายุงาน ขณะที่เกณฑ์ให้พนักงานทุกระดับต้องมีจำนวนวันลาหยุดตามอายุงานเหมือนกันทั้งหมด

 

สำหรับจำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบใหม่นั้น ได้มีการปรับลดจำนวนวันหยุด ตามอายุการทำงาน ดังนี้

 

1. อายุงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ปรับลดจาก 24 วัน เหลือ 15 วัน

 

2.อายุงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 20 ปี ปรับลดจาก 21 วัน เหลือ 10 วัน

 

3.อายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี ปรับลดจาก 18 วันเหลือ 8 วัน

 

4. อายุงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี ปรับลดจาก 12 วัน เหลือ 6 วัน

 

รายงานข่าวจากการบินไทย กล่าวต่อว่า ส่วนค่าล่วงเวลาหรือ โอที นั้นบริษัท ได้มีการปรับเกณฑ์ใหม่เช่นกัน โดยจะเปลี่ยนมาคำนวณจากอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง แทนรูปแบบเดิมที่คำนวณจาก อัตราเงินเดือนค่าจ้าง/ชั่วโมง โดยอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง จะคำนวณจากอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง หารด้วย 240(จำนวนชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน 8 ชั่วโมง คูณ ด้วยจำนวนวันใน 1 เดือน) ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่คำนวณจาก อัตราเงินเดือนค่าจ้าง/ชั่วโมง หารด้วย 173 ซึ่งจะเห็นว่าจำนวนของตัวหารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าล่วงเวลาที่คิดโดยใช้เกณฑ์ใหม่ปรับลดลงจากเดิม 50%

 

สำหรับประเภทของการจ่ายค่าล่วงเวลา ดังนี้

 

1.ค่าล่วงเวลาในวันทำการปกติ จ่าย 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง

 

2.ค่าทำงานวันหยุด จ่าย เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีก 1 เท่าของอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง จากเดิมจ่าย 2 เท่าของอัตราเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมง

 

3.ค่าทำงานล่วงเวลาวันหยุด จ่ายอัตรา 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง จากเดิมจ่ายไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมง

 

ส่วนการเกษียณอายุของพนักงานนั้น ให้มีผลเมื่อพนักงานมีอายุครบ 60 ปี ส่วนวันที่เกษียณอายุนั้นปรับเปลี่ยนให้มีผล ในวันแรกของเดือนถัดจากเดือนที่พนักงานมีอายุครบ 60 ปี จากเดิม ให้มีผลวันที่ 30 ก.ย.ของทุกปี

 

อย่างไรก็ตามการปรับลดวันลาพักร้อนและการปรับลดจำนวนค่าทำงานล่วงเวลา นั้น เป็นการปรับตามที่ บริษัท ได้เปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน ทำให้บริษัทและพนักงานอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แทนพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543



07/Mar/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา