ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

โพลห่วงแรงงานข้ามชาติทำโควิดพุ่งขอเข้มชายแดน , INN 28 มีค. 64

สวนดุสิตโพล คนห่วง แรงงานต่างด้าวอพยพเข้าไทย ทำโควิดระบาดเพิ่ม จี้รัฐบาลตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด


“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน จำนวน 1,167 คน เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อกรณี แรงงานข้ามชาติ ระหว่างวันที่ 22-25 มีนาคม 2564 เมื่อถามประชาชนคิดอย่างไรกับ “สถานการณ์แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย” พบว่า ร้อยละ 67.67 ระบุ อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ มากขึ้น รองลงมาร้อยละ 62.01 ระบุ เกิดการแย่งอาชีพของคนงานในประเทศ ร้อยละ 59.09 ระบุ แรงงานข้ามชาติต้องการแสวงหาการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า


เมื่อถามประชาชนคิดว่า “แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย” เป็นเพราะสาเหตุใด พบว่า ร้อยละ 69.01 ระบุ ได้ค่าแรงมากกว่า รองลงมาร้อยละ 67.12 ระบุ ทำมาหากินได้ง่ายกว่า ร้อยละ 63.78 ระบุ ชีวิตความเป็นอยู่ลำบาก ฝืดเคือง


ทั้งนี้ เมื่อถามว่าจากกรณี “แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย” ประชาชนคิดว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในเรื่องใดบ้าง พบว่า ร้อยละ 81.41 ระบุ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น โควิด-19 รองลงมาร้อยละ 74.38 ระบุ ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 68.81 ระบุ เจ้าหน้าที่กระทำผิดกฎหมาย เปิดให้มีการลักลอบเข้าเมือง


พร้อมกันนี้ เมื่อถามว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อกรณี “แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย” พบว่า ร้อยละ 75.16 ระบุ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด ไม่ทุจริต รองลงมาร้อยละ 72.13 ระบุ ควรมีมาตรการป้องกัน/เตรียมรับมือในระยะยาวร้อยละ 65.01 ระบุ เฝ้าระวังตามแนวชายแดนอย่างเคร่งครัด


ท้ายที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกรณี “สถานการณ์แรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทย” ประชาชนคิดว่ามีผลดีและผลเสีย พบว่า ร้อยละ 64.44 ระบุ มีผลเสียมากกว่า รองลงมาร้อยละ 29.56 ระบุ มีผลดีและผลเสียพอๆกัน ขณะ ร้อยละ 6.00 ระบุ มีผลดีมากกว่า



29/Mar/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา