ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กระทรวงแรงงาน รับข้อเสนอ ทางการเมียนมา เตรียมจัดตั้งศูนย์ CI ในประเทศไทย 5 แห่ง , มติชน 24 มีค. 64

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ห้องประชุม เทียน อัชกุล ชั้น 10 กรมการจัดหางาน อาคารกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ 2/2564 โดยมีนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม


เพื่อพิจารณาการขอจัดตั้งศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ของทางการเมียนมาในประเทศไทย จำนวน 5 แห่ง ในจังหวัดระนอง 1 แห่ง จังหวัดสมุทรปราการ 1 แห่ง จังหวัดเชียงใหม่ 1 แห่ง จังหวัดสมุทรสาคร 1 แห่ง และชลบุรี 1 แห่ง ถ้าหากจำเป็น จะออกให้บริการเคลื่อนที่นอกเหนือจาก 5 แห่งข้างต้นด้วย


นายสุชาติกล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่จัดส่งแรงงานมาทำงานในประเทศไทย ประกาศใช้มาตรการด้านสาธารณสุข และมาตรการควบคุมโรค ซึ่งต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย


นายสุชาติกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม การไม่สามารถเดินทางผ่านแดนได้ตามสถานการณ์ปกตินั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบขั้นตอนการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว กระทรวงแรงงานได้เตรียมแนวทางการรับมือปัญหาดังกล่าว โดยจัดตั้ง ศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ของทางการเมียนมาในประเทศไทย แห่งแรกในจังหวัดสมุทรสาคร พื้นที่เดียวกันกับศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว (The Temporary Data Collection Centre : TDCC) และในอนาคตจะมีการจัดตั้งศูนย์ฯ เพิ่มขึ้นในจังหวัดต่างๆ ประมาณ 3 – 5 แห่ง ตามความจำเป็น


นายสุชาติกล่าวอีกว่า ในส่วนทางการกัมพูชาจะส่งทีมเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการขยายอายุเอกสารเดินทาง (Travel Document : TD) โดยการติดสติ๊กเกอร์ลงในเล่มมีอายุ 2 ปี ณ สถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย


“แรงงานกัมพูชาสามารถยื่นคำขอผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ และทางการลาว หนังสือเดินทางของแรงงานลาวที่ใกล้หมดอายุ สามารถมาดำเนินการติดต่อขอเปลี่ยนเล่มใหม่ได้ ณ สถานทูตลาวประจำประเทศไทย เพื่อไม่ให้แรงงานต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีแล้ว และถือเอกสารประจำตัวที่หมดอายุและกำลังจะหมดอายุมีสถานะเป็นคนต่างด้าวผิดกฎหมาย


“เกี่ยวกับเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำและติดตามความคืบหน้ามาโดยตลอด เนื่องจากอาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัญหาด้านความมั่นคง การค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้วย” นายสุชาติกล่าว


ด้านนายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กรณีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในประเทศไทยทยอยหมดอายุ และแรงงานต่างด้าวไม่สามารถเดินทางกลับเข้าประเทศต้นทางเพื่อไปทำหนังเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางใหม่ได้ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่รับผิดชอบของทั้ง 3 ประเทศ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ต้องร่วมกันหารือแนวทางรับมือข้อขัดข้องที่อาจเกิดขึ้น


อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวว่า การที่แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติจะทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เอกสารประจำตัวแรงงานต่างด้าวจะต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนที่จะไปดำเนินการตรวจลงตรา (Visa) เพื่อขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง


สำหรับผู้ที่ต้องการสอบถามขั้นตอนขอรับใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร 1694 ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำวิธีการดำเนินการ



29/Mar/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา