ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ธุรกิจทรุด “เลิกจ้าง” รอบใหม่ ประกันสังคม จ่ายชดเชยพุ่ง , ประชาชาติธุรกิจ 24 เมย. 64

โควิดระลอก 3 เปิดแผล “ว่างงาน” เพิ่ม ประกันสังคมเปิดข้อมูลโควิดกระหน่ำเศรษฐกิจไทย ผู้ประกันตนรับสิทธิว่างงานปีที่ผ่านมาพุ่ง 1.2 ล้านคน จับตา 49 ประเภทกิจการไร้สัญญาณฟื้นตัว-ส่อปิดกิจการเพิ่ม เผยข้อมูล 5 ธุรกิจเลิกจ้างสูงสุด “โรงแรม-ร้านอาหาร-ผลิตเสื้อผ้า-ธุรกิจนำเที่ยว-สิ่งทอ” สปส.ประเมินปี’64 ปัญหาจ้างงานหนักขึ้นอาจปิดกิจการเพิ่มเกือบ 5 พันแห่ง ผู้ว่าการแบงก์ชาติชี้ปัญหาใหญ่ประชาชนรายได้ลด “ผู้เสมือนว่างงาน” พุ่ง


แบงก์ชาติห่วงจ้างงาน


ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 3 นี้ ก็เป็นการซ้ำเติมภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ ธปท.มองว่าการฟื้นตัวจะต้องใช้เวลานาน และฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึงอยู่แล้ว ทำให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น 

จากที่คาดการณ์ตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจปีนี้อยู่ที่ 3% อยู่บนสมมุติฐานว่าในไตรมาส 4/2564 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา 3 ล้านคน แต่จากสถานการณ์ในระลอก 3 ก็ยอมรับว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นไปได้ยาก ซึ่งถ้าตัวเลขนักท่องเที่ยวไม่ได้ ตัวเลขจีดีพี 3% ก็ไม่มีทางได้เช่นกัน


อย่างไรก็ตาม เรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจไม่ใช่แค่ตัวเลขจีดีพี ซึ่งที่ ธปท.ห่วงที่สุดคือ “รายได้ประชาชนและการจ้างงาน” ปัญหาขณะนี้คือประชาชนรายได้ไม่พอ นักศึกษาจบใหม่จะให้ทำอะไร จากการจ้างงานในระยะข้างหน้าจะมาจากตรงไหน ทั้งนี้ ตัวเลขผู้ว่างงานหรือคนตกงานอาจจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่จะทำให้ประชาชนมีรายได้ลดลงจากชั่วโมงทำงานลดลง หรือที่เรียกว่ากลุ่มเสมือนว่างงานเพิ่มมากขึ้น


คุมไม่อยู่ “ตกงานเพิ่ม”


แหล่งข่าวผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานประกันสังคมเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามผลการวิเคราะห์การว่างงานรายอุตสาหกรรม พบว่าในปี 2563 มียอดผู้ประกันตนใช้สิทธิว่างงานสูงถึง 1.21 ล้านคน คิดเป็น 67% ของผู้ที่ออกจากระบบประกันสังคม 2.21 ล้านคน จากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19


นอกจากนี้ รายงานของ สปส.ประเมินว่า จากจำนวนสถานประกอบการในระบบประกันสังคม 480,204 แห่ง คาดว่าในปี 2564 มีแนวโน้มที่จำนวนสถานประกอบการในระบบประกันสังคมจะลดลงประมาณ 4,949 แห่ง คิดเป็น 1% ของทั้งหมด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจซึ่งมีการปิดกิจการ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรายงานฉบับนี้ยังไม่ได้บวกรวมผลกระทบจากการระบาดระลอก 3 ไว้ด้วย ซึ่ง สปส.จะเก็บข้อมูลต่อเนื่อง เพื่อปรับประมาณการใหม่

 

“เบื้องต้นประเมินว่าหากไม่สามารถสกัดการระบาดของโควิดระลอก 3 ให้จบภายใน 2 เดือน ความเสียหายจะขยายวงอีกมาก และอาจจะรุนแรงกว่าโควิดทุกระลอกที่ผ่านมามาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปัญหาการว่างงานหรือการเลิกจ้างมากขึ้น ฉะนั้นจะต้องปรับประมาณการใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีปัจจัยใหม่เพิ่มเข้ามากระทบ ซึ่งนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งทุกหน่วยงานให้เตรียมความพร้อมเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดระลอกใหม่”


ใช้สิทธิว่างงาน 1.2 ล้านคน


ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ครั้งล่าสุด ได้มีการรายงานผล “วิเคราะห์การว่างงานรายอุตสาหกรรม” ในปี 2563 ที่มีปัจจัยอย่างการระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจอย่างหนัก โดยพบว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 รวมทั้งสิ้น 11,124,209 คน ลดลงถึง 562,184 คน คิดเป็น 4.81%


ขณะที่ปี 2563 มีผู้ประกันตนออกจากระบบประกันสังคม 2,205,694 คน โดยเป็นการออกไปประกอบอาชีพอิสระ 1,808,753 คน เปลี่ยนมาสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 467,346 คน และเปลี่ยนมาสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 รวม 38,328 คน และที่สำคัญคือ มียอดผู้ประกันตน “ใช้สิทธิว่างงาน” สูงถึง 1,212,307 คน (ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย) คิดเป็น 67% ของผู้ที่ออกจากระบบประกันสังคม


รายงานระบุในจำนวนผู้ใช้สิทธิว่างงานรายใหม่ 1,212,307 คนนั้น แบ่งเป็น สมัครใจลาออกอยู่ที่ 813,461 คน หมดสัญญาจ้าง 58,703 คน และถูกเลิกจ้างอยู่ที่ 340,143 คน


สำหรับผู้ประกันตนที่ใช้สิทธิว่างงานรายใหม่ในปี 2563 จนถึงเดือน ม.ค. 2564 พบว่า กิจการที่มีผู้รับสิทธิกรณีว่างงานสูงสุด 5 อันดับ คือ 1) กิจการประเภทที่พักแรม 82,120 คน 2) ธุรกิจขายส่ง 5,4471 คน 3) ธุรกิจขายปลีก 72,975 คน 4) การบริหารราชการ การป้องกันประเทศ 45,767 คน และ 5) การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม 43,221 คน


เปิด 5 ธุรกิจเลิกจ้างสูงสุด


นอกจากนี้ สปส.ได้วิเคราะห์แนวโน้มการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมใน 87 ประเภทกิจการ แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่มีแนวโน้มฟื้นตัว (V-shape) รวม 20 ประเภทกิจการ มีผู้ประกันตน 2 ล้านคน คิดเป็น 17.6% เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือฟื้นตัวแล้วอย่างชัดเจน ประกอบด้วย กลุ่มการบริหารราชการและป้องกันประเทศ, การขนส่งทางบกและท่อลำเลียง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการจ้างงานเพิ่ม


2) กลุ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (U-shape) 17 ประเภทกิจการ รวมผู้ประกันตน 2.61 ล้านคน คิดเป็น 22.9% เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการ “หดตัว” ของผู้ประกันตนระหว่าง 0-3.04% ในปี 2563 อาทิ กลุ่มธุรกิจขายส่ง, อุตฯผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก, ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


และ 3) กลุ่มที่มีแนวโน้มยังไม่ฟื้นตัว (super L-shape) รวม 49 ประเภทกิจการ รวมผู้ประกันตน 6.78 ล้านคน คิดเป็น 59.5% เป็นกลุ่มที่มีการหดตัวของผู้ประกันตนมากกว่า 3.04% เป็นกลุ่มกิจการที่มีการเลิกจ้างสูง ได้แก่ 1) ที่พักแรม มีผู้ประกันตน 164,324 คน ถูกเลิกจ้าง 97,084 คน คิดเป็น 37.14% 2) กิจการบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม มีผู้ประกันตน 209,966 คน ถูกเลิกจ้างไปแล้ว 37,513 คน คิดเป็น 15.16% 3) การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีผู้ประกันตน 104,872 คน เลิกจ้างไปแล้ว 21,082 คน คิดเป็น 16.74%


4) กิจการตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว การจัดนำเที่ยว การบริการสำรอง มีผู้ประกันตน 24,335 คน เลิกจ้างไปแล้ว 19,322 คน คิดเป็น 44.26% และ 5) กิจการการผลิตสิ่งทอ มีผู้ประกันตน 101,199 คน เลิกจ้างไปแล้ว 16,041 คน คิดเป็น 13.68% มีผู้ประกันตนได้รับผลกระทบรวม 191,042 คน ที่ถูกเลิกจ้าง สัญญาหมดอายุ ฯลฯ


สิ่งทอในประเทศเจ็บหนัก


นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แน่นอนว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบหนักในโควิดระลอก 3 นี้ แต่จะเป็นเฉพาะกับกลุ่มที่ทำธุรกิจภายในประเทศ ส่วนกลุ่มส่งออกยอดจองกำลังการผลิตค่อนข้างเต็มสำหรับปีนี้ ซึ่งประเมินว่าปีนี้ยอดส่งออกเป็นบวกแน่นอน หากเทียบกับปีที่แล้ว


“ในประเทศส่วนใหญ่เป็นรายเล็ก แต่มีจำนวนมาก ถ้ารวมผู้ผลิตตามห้องแถว ขายตามโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ สำเพ็ง ขายตามตลาด การจ้างงานก็ไม่น้อยกว่า 200,000 คน ลองไปเดินดูตลาดโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ จะเห็นภาพชัดเลยว่าร้านปิด ติดป้ายขาย ให้เช่า เรียกว่าร้านค่อย ๆ ปิดตัวไปเยอะมากแล้ว ข้อเสนอแนะที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ ไม่มีอะไรที่ดีกว่าการเร่งจัดหาและกระจายวัคซีน”


“สุชาติ” แจงตกงาน 3.7 แสน


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานระบุว่า ตามที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงจำนวนคนตกงานจำนวนมาก จากสถานการณ์ระบาดโควิด-19 นั้น กระทรวงแรงงานได้เก็บข้อมูลและตรวจสอบอย่างต่อเนื่องพบว่า การระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 ผู้ว่างงานจาก 3 กรณีรวม 1,181,576 คน ส่วนผู้ประกันตนที่กลับเข้าระบบประกันสังคมตามเดิมรวม 405,857 ราย อีกทั้งมีผู้ประกันตนรายใหม่รวม 397,336 คน เมื่อรวมผู้ประกันตนกลับเข้าระบบและรายใหม่แล้วรวม 803,193 ราย


ฉะนั้นจะมีจำนวนคนตกงานที่แท้จริงนับตั้งแต่โควิดระบาดอยู่ที่ 378,383 คนเท่านั้น อีกทั้งมีผู้ว่างงานในช่วงไตรมาส 1/2564 จำนวน 110,000 คน เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2562 มีผู้ว่างงาน 197,000 คน และไตรมาส 1/2563 มีผู้ว่างงาน 270,000 คน จะเห็นว่าจำนวนผู้ว่างงานไม่ได้เพิ่มมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 อีกทั้งมาตรการเยียวยาและดูแลผู้ประกันตนที่ดำเนินการมาถือว่าประสบความสำเร็จ อาทิ การจัดโครงการไทยมีงานทำ ช่วยผู้ประกันตนว่างงานได้ถึง 2 แสนคน


“มาตรการของกระทรวงแรงงานเน้นย้ำไปที่การรักษาฐานสำคัญให้อยู่รอดได้ รวมถึงฐานที่เป็นการส่งออกที่ทำรายได้เข้าประเทศ อย่างพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครที่เคยเป็นศูนย์กลางการระบาดของโควิด-19 นั้นไม่มีผู้ประกอบการปิดโรงงานเลย ใช้งบประมาณตรวจเชิงรุกไป 500 ล้านบาท เจอผู้ป่วยได้เร็วก็จัดการแก้ไขได้เร็วขึ้นเช่นกัน ลดการสูญเสียงบประมาณได้กว่า 10,000 ล้านบาท”



05/May/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา