ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกาศแล้ว! ข้อกำหนด-มาตรการใหม่ คุมโควิดทั่วประเทศ มีผล 1 พ.ค.นี้ , ประชาชาติธุรกิจ 1 พค. 64

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนด-มาตรการควบคุมพื้นที่ทั่วประเทศใหม่ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัดหนักสุด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พ.ค. นี้เป็นต้นไป เผยกรณีพบคนไม่สวมใส่หน้ากาก เจ้าหน้าที่สามารถกล่าวตักเตือนได้ ก่อนที่จะใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558


เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไชต์ราชกิจจานุเษกษาได้ เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตาความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 22)


ประกาศฉบับดังกล่าวมีสาระสำคัญตามที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ศบค.แถลงในวันนี้ โดยยกระดับมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ใหม่ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่กทม.และปริมณฑล


โดยกำหนดพื้นที่ควบคุมใหม่ เพื่อปรับระดับการกำหนดพื้นที่และ มาตรการการบังคับใช้ คือ 1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด (สีแดงเข้ม) ได้แก่พื้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) ชลบุรี นนทบุรี เชียงใหม่ สมุทรปราการ ปทุมธานี 2.พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 45 จังหวัด และ 3.พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 26 จังหวัด


ศบค. ประกาศซีล 6 จังหวัด “สีแดงเข้ม” ควบคุมเข้มงวดสูงสุด


สำหรับมาตรการหลักๆในแต่ละพื้นที่ที่ปรับสีใหม่ จะค่อนข้างคล้ายๆกัน ยกเว้นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม ใน 6 จังหวัด มาตรการจะเข้มกว่าพื้นที่สีอื่น โดยมาตรการบังคับใช้ มีดังนี้


1.ให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกเคหสถาน หรืออยู่ในพื้นที่สาธารณะ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบผู้ไม่กระทำตามมาตรการดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จะว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้บุคคลนั้นดำเนินการให้ถูกต้อง ก่อนที่จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ก็ได้

 

2.ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น โดยงดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม สุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน และเปิดให้บริการได้จนถึงเวลา 21.00 น.

 

3.สนามกีฬา สถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส ให้ปิดให้บริการ ยกเว้น สถานที่ใช้เป็นเอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ส่วนสนามกีฬา หรือสถานที่ เพื่อการออกกำลังกาย ประเภทกลางแจ้งหรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม

 

สำหรับการแข่งขันกีฬาที่เคยได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรี ให้จัดการแข่งขันได้ เมื่อได้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดแล้ว ให้สามารถจัดการแข่งขันได้ต่อไป

 

4.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็น ตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก ที่งดการให้บริการ


5.ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ เปิดบริการ เวลา 04.00-23.00 น.


สำหรับ ร้านหรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ใน เวลา 04.00 น.


ทั้งนี้ งดการเดินทางออกนอกพื้นที่ ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด งดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจำเป็น เพื่อลดการเดินทางที่อาจเสี่ยงต่อการติดโรค


และในทุกพื้นที่และทุกจังหวัด ยังคงงดจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือรวมกลุ่มเกินกว่า 20 คน ยกเว้นงานที่จัดพิธีตามประเพณี เช่น งานศพ  โดยมีมาตรการป้องกัน และให้จังหวัดกำหนดพื้นที่ย่อยให้เข้มกว่า ศบค.กำหนดได้ ตามสถานการณ์ของจังหวัด


นอกจากนี้ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการเอกชนพิจารณาทำงานที่บ้านตามมาตรการขั้นสูงสุดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน เพื่อลดการรวมกลุ่มของบุคคล ซึ่งอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง สลับเวลาการทำงาน หรือวิธีอื่นใดที่เหมาะสมไก้


ทั้งนี้ข้อกำหนดทั้งหมดนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 นี้ เป็นต้นไป

คลิกอ่านประกาศฉบับเต็มที่นี่!!



05/May/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา