ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 34/2563 (คดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน)
เรื่อง เงื่อนไขการจ่ายเบี้ยขยัน คำนึงถึงการขาด ลา มาสาย หรือชั่วโมงเวลาการทำงานตอบแทนเป็นสำคัญ หากลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงาน มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงาน ในหน้าที่ตนด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้นเป็นสำคัญ
โดยจะเห็นได้ว่าลูกจ้างจะต้องมาปฏิบัติงานสอน โดยไม่ขาดลาตามจำนวนวันที่กำหนด ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนในส่วนหลังนี้เต็มตามจำนวนที่กำหนดในอัตราเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท เงินเบี้ยขยันหาใช่เป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงจึงไม่เป็นค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ (ลูกจ้าง) ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน (จำเลยที่ ๑) กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อจำเลยว่า จำเลยที่ ๒ นายจ้าง ค้างจ่ายค่าสอน ค่าภาระงานที่เกี่ยวกับการสอน สื่อการสอน และทำเอกสารต่าง ๆ ๑๕,๐๐๐ บาท แต่จำเลยที่ ๑ มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้าง ๒,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๙ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้าง นอกจากนี้จำเลยที่ ๒ ยังค้างจ่ายค่าจ้างเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ มีนาคม และเดือนเมษายน ๒๕๕๙ เป็นเงิน ๔๕,๐๐๐ บาท ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ ๑ และบังคับให้จำเลยที่ ๒ จ่ายค่าจ้างรวม ๔๕,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ ๑ ให้การว่า เดือนตุลาคม ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียนแล้วรวม ๕ วันเท่านั้น จำเลยที่ ๒ จึงมีหน้าที่จ่ายค่าการสอนเป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๒ ซึ่งประกอบกิจการจัดหาครูผู้สอนแก่โรงเรียนผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ ๒ จ้างโจทก์เป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้แก่โรงเรียน A ข้อตกลงการจ้างตามสัญญาจ้างงาน นายจ้างและลูกจ้างตกลงแบ่งค่าจ้างออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกคือเงินเดือนอัตราเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่ ๒ เรียกว่า เบี้ยขยัน ซึ่งจะจ่ายเป็นค่าปฏิบัติการสอนส่วนหนึ่ง ค่าอุปกรณ์ เอกสารและสื่อประกอบการสอน อีกส่วนหนึ่ง โดยจะจ่ายเฉพาะเดือนเปิดภาคการศึกษา คือ มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม และกุมภาพันธ์ ในอัตราเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท
สำหรับเดือนตุลาคม มีนาคม และเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่ปิดภาคการศึกษาจะไม่มีการจ่ายเบี้ยขยัน มีเงื่อนไขการจ่ายเบี้ยขยันว่า ลูกจ้างจะได้รับเบี้ยขยันเฉพาะวันที่ปฏิบัติการสอนเท่านั้น หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติการสอน หรือไม่ทำอุปกรณ์ เอกสาร สื่อการสอน ลูกจ้างตกลงให้นายจ้างหักเบี้ยขยันได้ตามส่วน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นเจตนาและวัตถุประสงค์การจ่ายค่าตอบแทนของนายจ้างว่า ประสงค์จะจ่ายค่าตอบแทนเป็น ๒ ส่วน
โดยข้อตกลงและเงื่อนไขการจ่ายเบี้ยขยัน คำนึงถึงการขาดลามาสายหรือชั่วโมงเวลาการทำงานตอบแทนเป็นสำคัญ หากลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงาน ย่อมแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าค่าตอบแทนทั้งสองส่วนนี้ มิใช่ค่าตอบแทนในลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะค่าตอบแทนในส่วนที่ ๒ แม้จะอาศัยการทำงานเป็นเงื่อนไขการจ่ายแต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ตนด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้นเป็นสำคัญ โดยจะเห็นได้ว่าลูกจ้างจะต้องมาปฏิบัติงานสอนโดยไม่ขาดลาตามจำนวนวันที่กำหนด ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนในส่วนหลังนี้เต็มตามจำนวนที่กำหนดในอัตราเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท จึงเป็นเงินเบี้ยขยันหาใช่เป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงในอันที่จะถือเป็นค่าจ้างไม่ใช่
พิพากษายืน
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...