ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ลูกจ้างเข้าข่ายติดเชื้อ COVID - 19 นายจ้างสั่งให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อได้ , กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 13 พค. 64

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานชี้แจงกรณี ลูกจ้างอยู่ในข่ายเป็นผู้ติดหรืออาจจะติดเชื้อไวรัส COVID - 19 นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างที่มีความเสี่ยงนั้นเข้ารับการตรวจจากแพทย์ถือเป็นคำสั่งที่มีเหตุอันสมควร นายจ้างสามารถปฏิบัติได้


นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวชี้แจงว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID - 19 ที่ขยายเป็นวงกว้าง มีผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น กระจายไปในสถานที่ต่างๆ ส่งผลให้บุคคลที่เดินทางหรือเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ 


ด้วยความห่วงใยของ พลเอก ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน และนายสุชาติ  ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่มีความต้องการให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิต และสุขภาพอนามัยที่ดี จึงได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสร้างความเข้าใจให้ทราบว่า  


กรณีที่นายจ้าง  มีคำสั่งให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจจากแพทย์ ด้วยเหตุที่ลูกจ้างอยู่ในข่ายเป็นผู้ติดเชื้อหรืออาจจะติดเชื้อไวรัส COVID - 19 


เช่น ลูกจ้างสัมผัสกับผู้ป่วยหรือลูกจ้างอยู่ในครอบครัวเดียวกับผู้ป่วย ลูกจ้างอยู่ในสถานที่ปิดกับผู้ป่วยโดยไม่มีการถ่ายเทอากาศนานกว่า 15 นาที ในระยะไม่เกิน 1 เมตร และไม่มีการป้องกันตนเอง หรือเคยไปยังสถานที่ที่มีผู้ติดเชื้อในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค เป็นต้น 


ถือว่านายจ้างมีเหตุผลอันสมควรที่จะมีคำสั่งให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อตรวจคัดกรอง ป้องกัน เฝ้าระวัง รักษา ควบคุมมิให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 หากไม่ดำเนินการอาจเป็นอันตรายและกระทบต่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้างคนอื่น หรือกระทบต่อกิจการของนายจ้างได้ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด 


ฉะนั้นคำสั่งของนายจ้างดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งเพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง รักษา ควบคุมมิให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 เกี่ยวกับการทำงานที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม 


หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุผล นายจ้างก็อาจปฏิเสธไม่ให้ลูกจ้างเข้าสถานที่ทำงาน หรืออาจลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างฐานขัดคำสั่งของนายจ้างได้ เช่น ตักเตือนลูกจ้างด้วยวาจาหรือตักเตือนเป็นหนังสือ เป็นต้น

 

อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้นายจ้าง ลูกจ้าง ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคที่ทางราชการประกาศกำหนดอย่างเคร่งครัด รวมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น 


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และการปฏิบัติ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรสายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546 หรือหากสงสัยเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค โทร 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค



15/May/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา