ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ครม. เคาะผ่อนผันแรงงานต่างด้าว อยู่ไทยต่อได้ , ประชาชาติธุรกิจ 13 กค. 64

วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ครม. มีมติเห็นชอบผ่อนผันแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กลุ่มมติ ครม. 20 ส.ค. 2562 กลุ่มมติ ครม. 4 ส.ค. 2563 กลุ่มมติ ครม. 10 พ.ย. 2563 และกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงเพราะผลของกฎหมาย สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึง 27 ก.ค. 2565 


โดยดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดให้แล้วเสร็จ เพื่อจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานถึง 13 ก.พ. 2566 รวมทั้งปรับเปลี่ยนระยะเวลาการหานายจ้างรายใหม่ของแรงงานต่างด้าวจาก 30 วัน เป็น 60 วัน


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้แรงงานต่างด้าวตามกลุ่มมติคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 เพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงาน ตรวจสุขภาพ ตรวจลงตราวีซ่า ทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และดำเนินการให้มีเอกสารประจำตัวฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุ หรือกำลังจะหมดอายุ ไม่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้ทันตามกำหนดเวลา


โดยเฉพาะขั้นตอนการไปขอรับการตรวจสุขภาพ ซึ่งขณะนี้ระยะเวลาการผ่อนผันดังกล่าวกำลังจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ก.ค. 2564 หรือ 30 ก.ย. 2564 หรือ ในระยะเวลา 6 เดือนนับจากการอนุญาตเดิมสิ้นสุด


นอกจากนี้ยังมีคนต่างด้าวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 บางส่วนที่ต้องออกจากงานด้วยเหตุผลหลายประการ และไม่สามารถหานายจ้างรายใหม่ได้ภายในระยะเวลา 30 วัน ทำให้การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตให้ทำงานสิ้นสุดลงตามผลของกฎหมาย


ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกำลังดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ กลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย รวมทั้งให้ประเทศต้นทางมีเวลาเพียงพอในการดำเนินการออกหรือต่ออายุเอกสารประจำตัวของคนชาติตน จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่ง พรก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อนุญาตให้คนต่างด้าวกลุ่มมติ ครม.ต่าง ๆ ได้ทำงานต่อไป 


“พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ย้ำเตือนให้กระทรวงแรงงาน บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 และสภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน รวมทั้งดูแลสถานประกอบการที่มีความต้องการกำลังแรงงานให้สามารถขับเคลื่อนกิจการต่อไปได้


โดยยึดความปลอดภัยด้านสุขภาพและชีวิตของทั้งแรงงานต่างด้าว แรงงานไทย และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชน และประชาชนโดยรวม


ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า เพื่อบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ จำต้องมีมาตรการแก้ไขข้อขัดข้อง และปรับปรุงกฎระเบียบบางประการ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่ง ครม.ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขข้อขัดข้อง ดังนี้


1.กลุ่มคนต่างด้าวตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2562 ผ่อนผันระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถึงวันที่ 27 ก.ค. 2565 เพื่อให้คนต่างด้าวที่ประสงค์ทำงานต่อไปดำเนินการขออนุญาตทำงาน ภายใน 30 ก.ย. 2564 หรือ 31 มี.ค. 2565 แล้วแต่กรณีของระยะเวลาการอนุญาตทำงานเดิม รวมทั้งตรวจสุขภาพ และขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร


ในกรณีที่เอกสารประจำตัวหมดอายุคนต่างด้าวต้องมีเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 ก.ค. 2565 ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 2566


2. กลุ่มคนต่างด้าวตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2563 (กลุ่ม บต.23) ให้ดำเนินการตามกระบวนการเดิมจนแล้วเสร็จ ได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2565 หากคนต่างด้าวประสงค์จะทำงานต่อไปให้ดำเนินการขออนุญาตทำงาน และขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรภายในวันที่ 31 มี.ค. 2565


ในกรณีที่เอกสารประจำตัวหมดอายุคนต่างด้าวต้องมีเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 ก.ค. 2565 ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 2566


3. กลุ่มคนต่างด้าวตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563 (กลุ่ม MoU ครบ 4 ปี ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2563 – 31 ธ.ค. 2564) ผ่อนผันระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถึงวันที่ 27 ก.ค. 2565 เพื่อให้คนต่างด้าวดำเนินการขออนุญาตทำงาน ตรวจสุขภาพ และขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรต่อไป


ในกรณีที่เอกสารประจำตัวหมดอายุคนต่างด้าวต้องมีเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 ก.ค. 2565 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับจากการอนุญาตทำงานเดิมสิ้นสุด


4. กลุ่มคนต่างด้าว 3 สัญชาติซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย อาทิ กลุ่มที่ไม่สามารถหานายจ้างรายใหม่เพื่อเข้าทำงานได้ทันภายใน 30 วัน ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่อนผันระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถึงวันที่ 27 ก.ค. 2565 เพื่อให้คนต่างด้าวดำเนินการขออนุญาตทำงาน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้ และตรวจสุขภาพ ขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร


ในกรณีที่เอกสารประจำตัวหมดอายุคนต่างด้าวต้องมีเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 ก.ค. 2565 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 2566 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงคนต่างด้าว ตามมติ ครม. 29 ธ.ค. 2563 ที่มีแนวทางตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2564 ในการดำเนินการ


5. การปรับเปลี่ยนระยะเวลาการหานายจ้างรายใหม่ของแรงงานต่างด้าวจากภายใน 30 วัน เป็น 60 วัน นับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2562 มติ ครม.เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2563 (กลุ่ม บต.23) และมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563 รวมถึงกลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามระบบ MoU โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องมีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 13 ก.พ. 2566


อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) ทางการเมียนมา จะออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ให้กับคนเมียนมาที่มีเอกสาร CI แล้ว แต่เอกสารดังกล่าวทยอยหมดอายุ โดยตั้งศูนย์บริการจำนวน 5 แห่ง ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.ระนอง จ.ชลบุรี และ จ.เชียงใหม่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ครม.ลงมติเห็นชอบ จนถึง 27 ก.ค. 2565 สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา สามารถขอเอกสารดังกล่าวได้ที่สถานเอกอัครราชทูตตามสัญชาติของตนที่ประจำอยู่ในประเทศไทย



21/Jul/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา