ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
กระทรวงแรงงานเผยราชกิจจานุเบกษาประกาศเผยแพร่ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2564 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.2564 เป็นต้นไป อำนวยความสะดวกให้ลูกจ้างใช้สิทธิรับเงินสงเคราะห์ได้รวดเร็วขึ้น
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อลูกจ้างที่ได้รับ ความเดือดร้อนจากการเลิกจ้าง และอาจไม่ได้รับการชดเชยตามกฎหมาย กรณีที่ลูกจ้างได้ยื่นเรื่องขอใช้สิทธิรับเงินช่วยเหลือจากเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ซึ่งติดระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ใช้ระยะเวลานาน
ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว กระทรวงแรงงานจึงได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณาคำขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ซึ่งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศระเบียบดังกล่าวแล้ว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. 2564 เป็นต้นไป
การแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างครั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือให้ลูกจ้างได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าถึงสิทธิการขอรับเงินสงเคราะห์อย่างทั่วถึง
นางโสภา เกียรตินิรชา โฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างฉบับใหม่นี้ มีประเด็นสำคัญ ได้แก่
กรณีนายจ้างนำคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานจะต้องรอคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด ลูกจ้างจึงมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ซึ่งได้แก้ไขระเบียบดังกล่าวเป็นลูกจ้างสามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ โดยไม่ต้องรอคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
หรือนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว แม้คำสั่งนั้นไม่เป็นที่สุด และขยายระยะเวลาการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์
เดิมลูกจ้างต้องยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด แก้ไขระเบียบเป็น ลูกจ้างสามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
นอกจากนี้การรักษาสิทธิในการยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ เดิมลูกจ้างจะต้องมารับเงินสงเคราะห์ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบผลการพิจารณาจ่ายเงินสงเคราะห์ หากไม่มารับเงินภายใน 60 วัน สิทธิการรับเงินสงเคราะห์นั้นเป็นอันระงับ
แก้ไขระเบียบดังกล่าวเป็นกรณีลูกจ้างไม่สามารถมารับเงินภายใน 60 วัน ลูกจ้างสามารถยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ใหม่ได้ภายใน 1 ปี
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1546 หรือ 1506 กด 3
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...