ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
รวม 4 มาตรการ กระทรวงแรงงานแก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติขาดแคลน แนะนายจ้างสามารถยื่นขอนำเข้าแรงงานตาม MOU ได้ทั้งปี โดยข้อมูลล่าสุดยื่นนำเข้าแล้ว 44,512 คน
วันที่ 28 ธันวาคม 2564 นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยการขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนนายจ้าง/สถานประกอบการ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และล่าสุดสายพันธุ์โอไมครอน กระทรวงแรงงานจำเป็นต้องบริหารจัดการการทำงานของแรงงานข้ามชาติอย่างรอบคอบมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการควบคุมป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพราะคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชนคนไทยเป็นสำคัญ”
นับตั้งแต่ปี 2563 ที่ประเทศไทยเข้าสู่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดำเนินการปรับเปลี่ยนระเบียบ นโยบาย รวมถึงมาตรการต่าง ๆ เพื่อสอดรับกับสถานการณ์ ดังนี้
1) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ โดยให้นายจ้างที่จ้างแรงงานข้ามชาติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ และยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน (บต.48) ซึ่งทำให้แรงงาน 3 สัญชาติ จำนวน 496,055 คน ได้รับโอกาสเป็นแรงงานที่สามารถอยู่ในประเทศไทยและทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย
2) เสนอ ครม. เพื่อมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 โดยมีเป้าหมายบริหารจัดการให้แรงงานข้ามชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยตามมติ ครม. คราวต่าง ๆ ได้แก่ มติ 20 สิงหาคม 2562, มติ 4 สิงหาคม 2563, มติ 10 พฤศจิกายน 2563 และกลุ่ม MOU ที่ครบวาระการจ้างงาน และกลุ่มใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดโดยผลของกฎหมายรวมจำนวน 1,695,416 คน สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงานได้ต่อไปถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หรือ 2 ปี นับแต่วันที่การอนุญาตเดิมสิ้นสุด
รวมทั้งขยายระยะเวลาการหานายจ้างจาก 30 วัน เป็น 60 วัน เพื่อแก้ปัญหาให้นายจ้างที่ขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากสถานการณ์ด้านวัคซีนภายในประเทศขณะนั้นยังไม่เอื้ออำนวยที่จะนำแรงงานข้ามชาติเข้ามา อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินการจนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2564 มีนายจ้าง/สถานประกอบการดำเนินการตามขั้นตอนจนแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานแล้วเพียง 272,322 คน
3) มติ ครม.เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 เป็นอีกครั้งที่กระทรวงแรงงานเก็บตกแรงงาน 3 สัญชาติ ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยดำเนินการตรวจสถานที่ก่อสร้าง สถานประกอบการ โรงงาน และสถานที่ทำงาน เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขแก่นายจ้างและแรงงานต่างด้าวเป็นระยะเวลา 30 วัน
หากพบแรงงานต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลนายจ้างและแรงงานต่างด้าว พร้อมกำหนดวันนัดหมายให้นายจ้างมาดำเนินการยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนแรงงงานต่างด้าว ณ สำนักงาน เพื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงานตามกฎหมาย และได้รับการดูแลตามสิทธิที่พึงมี หากอยู่ในกิจการที่มีประกันสังคมมีสิทธิเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
ได้รับการคุ้มครอง และสิทธิการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับคนไทยที่อยู่ในระบบประกันสังคม หรือหากไม่อยู่ในกิจการที่มีประกันสังคมก็ได้รับสิทธิประกันสุขภาพตามสิทธิประกันที่มีการกำหนดให้ทำเมื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยมีนายจ้าง/สถานประกอบการดำเนินการยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวทั้งสิ้น 353,776 คน
4) จากกำหนดการเปิดประเทศของรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 กระทรวงแรงงานได้เตรียมการล่วงหน้าเพื่อนำเข้าแรงงาน 3 สัญชาติ ตาม MOU เพื่อให้นายจ้างมีแรงงานในการขับเคลื่อนกิจการสอดรับกับการเปิดประเทศ
ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นมา กระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางาน (กกจ.) ได้เปิดให้นายจ้าง/สถานประกอบการยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงาน 3 สัญชาติ (เมียนมา กัมพูชา และลาว) ตาม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตลอดทั้งปีตามความจำเป็นในการประกอบกิจการ มีค่าใช้จ่ายรวมในการนำเข้าแรงงานอยู่ระหว่าง 11,490-24,250 บาทต่อแรงงานข้ามชาติ 1 คน ขึ้นอยู่กับการเลือกสถานที่กักตัว ระยะเวลาที่ต้องอยู่ในสถานที่กักตัว รวมถึงการเลือกประกันสุขภาพ ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับระยะเวลา
นายไพโรจน์กล่าวด้วยว่า กระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางานมีการวางแผนบริหารจัดการแรงงาน 3 สัญชาติในทุกระยะ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่สิ่งสำคัญที่จะแก้ปัญหาได้คือ นายจ้าง/สถานประกอบการจำเป็นต้องร่วมมือใช้แรงงานที่เข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย ไม่รับแรงงานที่ลักลอบเข้าประเทศมาทำงาน เพราะแรงงานกลุ่มดังกล่าวไม่ได้ผ่านการตรวจคัดกรองโควิดตามมาตรการสาธารณสุข ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อกิจการ ชุมชนใกล้เคียง จนถึงประเทศชาติ
หากท่านต้องการแรงงาน 3 สัญชาติ นายจ้างที่มีความพร้อมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานที่กักตัว สามารถยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ (Demand) กับกรมการจัดหางานหรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-10 ในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
โดยข้อมูล ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2564 มีนายจ้างยื่นคำร้องสะสมแล้ว 420 คำร้อง ต้องการแรงงาน 3 สัญชาติรวม 44,512 คน แบ่งเป็นเมียนมา 31,256 คน กัมพูชา 9,599 คน และลาว 3,667 คน
โดยประเภทงานที่เป็นที่ต้องการได้แก่ กรรมกร 44,505 คน รับใช้ในบ้าน 4 คน ช่างเครื่องยนต์ 2 คน และงานอื่น ๆ (ขายของหน้าร้าน) 1 คน
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...