ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

18 มกราคม 2565 : สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ ขอเอกสารรับรองบุคคล ณ ศูนย์ CI ภายใน 1 สิงหาคม 2565, ประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 18 มกราคม 2565 กระทรวงแรงงานแนะนายจ้างกำชับแรงงาน 3 สัญชาติ (เมียนมา กัมพูชา และลาว) โดยเฉพาะแรงงานสัญชาติเมียนมาที่เป็นกลุ่มแรงงานจำนวนมากที่สุดในไทย ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ให้วางแผนเข้ารับบริการ ณ ศูนย์ CI โดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดจากการใช้บริการพร้อมกันช่วงใกล้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ


โดยมติ ครม.วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 มีการเห็นชอบผ่อนผันแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ จากกลุ่มมติ ครม. 20 สิงหาคม 2562 กลุ่มมติ ครม. 4 สิงหาคม 2563 กลุ่มมติ ครม. 10 พฤศจิกายน 2563 และกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงเพราะผลของกฎหมาย สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึง 27 กรกฎาคม 2565 โดยเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดแล้วเสร็จ จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานถึง 13 กุมภาพันธ์ 2566 รวมทั้งปรับเปลี่ยนระยะเวลาการหานายจ้างรายใหม่ของแรงงานต่างด้าวจาก 30 วัน เป็น 60 วัน


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน สังคม และสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา กัมพูชา และลาว) จำนวนมาก ที่เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย


เพราะไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อจัดทำเอกสารประจำตัวฉบับใหม่ได้ นับเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จำเป็นต้องแก้ไข เนื่องจากจะส่งผลให้การอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตให้ทำงานสิ้นสุดลงตามผลของกฎหมาย หากแรงงานต่างด้าวไม่มีเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) ฉบับใหม่ เพื่อขอตรวจลงตราอยู่ต่อในราชอาณาจักรกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภายในกำหนดเวลา


“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว และการป้องกันไม่ให้นายจ้าง/สถานประกอบการที่ใช้แรงงาน 3 สัญชาติ ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานสัญชาติเมียนมาที่เป็นกลุ่มแรงงานจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย


จึงจัดตั้งศูนย์พิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร อนุญาตให้ทำงาน และออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) หรือศูนย์ CI ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ในประเทศไทย ทั้ง 5 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เชียงใหม่ ระนอง สมุทรปราการ และสมุทรสาครนั้น เพื่อทำให้แรงงานเมียนมาสามารถขอรับเอกสารรับรองบุคคล (CI) ฉบับใหม่โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศของตน หลีกเลี่ยงความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายจากการกักตัว ตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่จะเกิดกับนายจ้างได้”


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวด้วยว่า ขอความร่วมมือแรงงานสัญชาติเมียนมาตามมติ ครม. วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 มาดำเนินการตามขั้นตอนภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์ CI ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ทำงานของแรงงานเมียนมา หรือศูนย์ CI ที่สามารถเดินทางได้สะดวก เพื่อให้มีเอกสารประจำตัวฉบับใหม่ในการขออยู่ต่อและทำงานในราชอาณาจักรต่อไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย


ศูนย์ CI ใน 5 จังหวัด มีที่ไหนบ้าง?


ศูนย์พิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร อนุญาตให้ทำงาน และออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) ทั้ง 5 แห่ง มีสถานที่ตั้ง ดังนี้


1.จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ที่ตลาดสยามนินจา ทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ. 3023 ตำบลหนองหงษ์ อำเภอพานทอง


2.จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 138 หมู่ 4 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่


3.จังหวัดระนอง ตั้งอยู่ที่เลขที่ 89/296 หมู่ 1 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง


4.จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 339/2 หมู่ 9 ซอยสุขสวัสดิ์ 74 อำเภอพระประแดง


5.จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ที่บริษัท มหาชัย ออโต้ เพ้นท์ จำกัด เลขที่ 32/8 ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร


ขั้นตอนเข้ารับบริการ


ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ศูนย์ CI ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 มีเป้าหมายให้บริการแก่แรงงานสัญชาติเมียนมาที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทย และถือเอกสารรับรองบุคคล (CI) จำนวนประมาณ 8-9 แสนราย โดยแรงงานที่ประสงค์เข้ารับบริการ ณ ศูนย์ CI กลุ่มดังกล่าว ขอให้ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้


1. แรงงานเมียนมานำเอกสาร CI ฉบับเดิม ดำเนินการชำระเงินค่าธรรมเนียมการออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-111 โดยชำระค่าบริการจำนวน 310 บาท หรือกรณีเอกสารรับรองบุคคลฉบับเดิมสูญหายหรือชำรุด ชำระเงินค่าธรรมเนียมการออกเอกสารรับรองบุคคลฉบับใหม่ รวมเป็นเงินจำนวน 480 บาท เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้ว สามารถลงทะเบียนนัดหมายล่วงหน้า โดยจะได้รับใบเสร็จที่ระบุวันนัดหมายเพื่อไปดำเนินการ ณ ศูนย์ CI ซึ่งมีการจำกัดจำนวนผู้มาใช้บริการต่อวัน (ประมาณวันละ 450-500 ราย) ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคที่แต่ละจังหวัดกำหนด


2. ในวันนัดหมายให้แรงงานเมียนมานำใบเสร็จมาขอรับการดำเนินการที่ศูนย์ CI โดยทางศูนย์มีบริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี ATK (antigen test kit)


3. ขอรับเอกสารรับรองบุคคล (CI) โดยเจ้าหน้าที่จากทางการเมียนมา ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบสัญชาติ จัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล (Biometric Data) และออกบัตรประจำตัวให้แรงงานต่างด้าว

4. ทางการไทย โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ตรวจสอบใบอนุญาตทำงาน หากดำเนินการต่อใบอนุญาตทำงานแล้ว จะตรวจสอบการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ ระหว่างที่ยังไม่มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ให้ทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย หรือประกันสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และกรณีที่ยังไม่ได้ต่อใบอนุญาตทำงาน ให้ยื่นคำขอตามแบบ บต. 50 พร้อมเอกสารและหลักฐาน พร้อมชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน จำนวน 1,000 บาท


5. สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราเพื่ออนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว โดยแรงงานเมียนมาต้องชำระเงินค่าธรรมเนียม จำนวน 1,900 บาท ณ ศูนย์ CI และออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564


อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์ CI เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม-1 สิงหาคม 2565 โดยเปิดทำการในวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 09.00-17.30 น. และหยุดทำการในวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์


แรงงานจองคิวแล้วเกือบ 2 หมื่นคน


อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม-17 มกราคม 2565 มีผู้มาดำเนินการจัดทำหนังสือรับรองบุคคล (CI) ทั้งสิ้น 6,688 คน แบ่งเป็น ศูนย์ CI จังหวัดสมุทรปราการ 3,127 คน สมุทรสาคร 2,522 คน เชียงใหม่ 406 คน ชลบุรี 320 คน และระนอง 313 คน โดยมีการจองคิวนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเข้าใช้บริการแล้ว 17,428 คน


ซึ่งนอกจากการรับบริการขอเอกสารรับรองบุคคล (CI) จากทางการเมียนมา และการยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงาน กับกรมการจัดหางานแล้ว แรงงานต่างด้าวที่ประสงค์เปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตทำงาน เช่น การเปลี่ยนนายจ้าง หรือการเปลี่ยนที่อยู่ สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนรายการ ตามแบบ บต. 44 ณ ศูนย์ CI ได้ โดยชำระค่าธรรมเนียม 400 บาท


กรมการจัดหางานจึงขอให้นายจ้างกำชับแรงงานเมียนมาในความดูแล ให้มาดำเนินการโดยเร็ว หรือวางแผนวันและเวลาการเข้ารับบริการให้ดี เนื่องจากศูนย์ CI มีการจำกัดจำนวนผู้มาใช้บริการต่อวันตามมาตรการควบคุมโรคของแต่ละจังหวัด (ประมาณวันละ 450-500 ราย) หากทุกคนพร้อมใจเข้ารับบริการพร้อมกันในช่วงใกล้วันครบกำหนดอาจทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการได้ทัน

 



25/Jan/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา