ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

24 มกราคม 2565 : รมว.สุชาติ ถกผู้นำแรงงาน สั่งทีมศึกษาโครงสร้างค่าจ้างขั้นต่ำ-ช่วยหญิงท้อง, มติชน

24 มกราคม 2565 นายสาวิทย์ แก้วหวาน ในฐานะตัวแทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำคณะเข้าพบ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หารือเรื่องความคืบหน้าการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 492 บาท เท่ากันทั่วประเทศ และแนวทางการช่วยเหลือลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ที่กระทรวงแรงงาน โดยมี นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วม


นายสุชาติ กล่าวว่า รัฐบาลห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกคน ทุกกลุ่มจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยาในมาตรการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภาคแรงงานและผู้ประกอบการอยู่ได้ และภาคธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ 


โดยมีมาตรการสำคัญๆ ทั้งด้านการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 เชิงรุก ภายใต้โครงการ “แรงงาน…เราสู้ด้วยกัน” โครงการแฟคทอรี แซนด์บ็อกซ์ (Factory Sandbox) การฉีดวัคซีนผู้ประกันตนมาตรา 33 การให้บริการทางการแพทย์รักษาโควิด-19 แก่ผู้ประกันตน การจัดหาเตียงฮอสปิเทล  (Hospitel) และด้านการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามโครงการ ม.33 เรารักกัน โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33, 39 และ 40 เยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจเอสเอ็มอี บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ โดยนำเข้าแรงงาน เอ็มโอยู ภายใต้สถานการการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19


“จากการหารือในวันนี้ ตามที่ คสรท. และ สรส.ได้ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลประกาศปรับค่าจ้างนั้น ได้ให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ไปพิจารณาศึกษาในรายละเอียดถึงการจัดทำโครงสร้างอัตราค่าจ้างขั้นต่ำว่ามีความเหมาะสม หรือเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนประเด็นแนวทางการช่วยเหลือลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเป็นกรณีเร่งด่วนนั้น ได้มอบหมายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้การช่วยเหลือตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป” นายสุชาติ กล่าว


ด้าน นายสาวิทย์ กล่าวว่า วันนี้ได้ติดตามความคืบหน้าการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และแนวทางการช่วยเหลือลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งขอให้กำลังใจนายกรัฐมนตรี และชื่นชมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงาน ที่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องผู้ใช้แรงงานจากผลกระทบโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา และในวันนี้ก็ได้เปิดโอกาสให้เข้าพบเพื่อรับฟังสภาพปัญหาเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามความช่วยเหลือตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อให้แรงงานได้รับความคุ้มครองที่พึงจะได้รับ

 



25/Jan/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา