ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

9 มีนาคม 2565 : โฆษกแรงงาน แจง ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์วันลาคลอด คุ้มครองลูกจ้างหญิงตาม กม., มติชน

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า ตามที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวในการเสวนาหัวข้อ‘พ่อแก่ เเม่ป่วย ลูกเล็ก มองขาดปัญหาฉุดรั้งความก้าวหน้าทางการงานของสตรี’ ซึ่งจัดโดย ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคตพรรคก้าวไกล (Think Forward Center) เนื่องในวันสตรีสากลเมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมาว่า 29 ปี ไม่มีอะไรเปลี่ยน “วันสตรีสากล” ร้องเพิ่มวันลาคลอดนั้น 


ซึ่งข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เกี่ยวกับสิทธิวันลาเพื่อคลอดบุตร แม้สิทธิการลาเพื่อคลอดบุตรจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน แต่ลูกจ้างยังมีความกังวลว่าจะได้รับค่าจ้างในส่วนวันลา 8 วัน หรือไม่ อย่างไรนั้น 


กระทรวงแรงงานเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ ในเบื้องต้น ขอชี้แจงว่า ข้อกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ปัจจุบัน กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างลา แต่ไม่เกิน 45 วัน โดยลูกจ้างยังมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากสำนักงานประกันสังคมอีก ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน จึงเห็นได้ว่า จำนวนวันลา 8 วันที่เพิ่มขึ้นนั้น ลูกจ้างยังไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่าจ้าง


ดังนั้นในเรื่องนี้กระทรวงแรงงาน จึงได้ดำเนินการให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เสนอปรับแก้ไขกฎหมาย เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้าง โดยจะปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนให้ผู้ประกันตน จากร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน เป็นร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 98 วัน ซึ่งจะมีผลให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างในวันลาเพิ่มขึ้น จากสิทธิเดิม อีก 4 วัน 


ในส่วนของค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร อีก 4 วัน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานประเมิลผลสัมฤทธิ์กฎหมาย เพื่อปรับแก้ไข พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้าง ต่อไป


ในส่วน อนุสัญญา ฉบับที่ 87 และ 98 อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. … ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่า จะเข้า ครม.ในเดือนพฤษภาคม 2565 และสภาฯ ต่อไปหลังจาก ผ่านสภาฯ แล้ว จะนำไปสู่ขั้นตอนการรับรองอนุสัญญาฯ ต่อไป



15/Mar/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา