ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

15 มีนาคม 2565 : คิกออฟ นำเข้าแรงงานต่างด้าว ตามม.64 ในพื้นที่ 8 จังหวัดติดพรมแดน , กรุงเทพธุรกิจ

เริ่มวันแรก กระทรวงแรงงาน เปิดให้นำเข้าแรงงานตาม ม.64 ใน 8 จังหวัด ศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด เชียงราย ตาก กาญจนบุรี และระนอง ทำงานบริเวณชายแดนแบบ ไป - กลับ และตามฤดูกาล พร้อมแจง 5 ขั้นตอนการเข้ามาทำงานในสถานการณ์โควิด-19


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า วันที่ 15 มี.ค. 65 เป็นวันแรกที่กระทรวงแรงงานเปิดให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวตามมาตรา 64 เพิ่มขึ้นในจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด เชียงราย ตาก กาญจนบุรี และระนอง รวม 8 จังหวัด เพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย


หลังจากสำรวจความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวของนายจ้าง สถานประกอบการ และพบความต้องการจ้างแรงงานในพื้นที่ 8 จังหวัด จำนวน 32,479 คน จึงมีการเร่งดำเนินการวางแนวทางการนำคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา และกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานบริเวณชายแดนในลักษณะไป - กลับ หรือตามฤดูกาลในพื้นที่ความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ( มาตรา 64)

 

โดยใช้แนวทางเดียวกับการนำเข้าแรงงานชาวกัมพูชามาทำงานตามฤดูกาลภาคเกษตรในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ที่เปิดนำร่องการนำเข้าฯเป็นจังหวัดแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ซึ่งขณะนี้กรมการจัดหางานได้เตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามมาตรา 64 เป็นที่เรียบร้อย ตามที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน มีข้อสั่งการ


ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานจัดทำแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมาเข้ามาทำงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)


โดยมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 


1. นายจ้างประสานลูกจ้าง เพื่อจัดเรียมเอกสารและนัดหมายวันเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อให้แรงงานต่างด้าวเตรียมหลักฐาน ได้แก่ หลักฐานการตรวจโควิด - 19 โดยวิธี RT- PCR หรือผลรับรองการตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชม.ก่อนเดินทางเข้ามา เอกสารรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม และบัตรผ่านแดนที่ประเทศต้นทางออกให้ หรือเอกสารอื่นที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด


2. ด่านควบคุมโรคติดต่อฯ ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการตรวจโควิด - 19 และเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดำเนินการตรวจโรคตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าว และทำประกันสุขภาพระยะเวลา 3 เดือน และออกใบรับรอง ต.8


3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองฯ ดำเนินการตรวจบัตรผ่านแดนที่ประเทศต้นทางออกให้ หรือเอกสารอื่นที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด และดำเนินการตรวจประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในบัตรผ่านแดน เป็นระยะเวลา 30 วันต่อครั้ง


4. สถานที่กักตัว โดยคนต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนมาจากประเทศต้นทางครบแล้วให้เข้ารับการกักตัวอย่างน้อย 7 วัน และให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT - PCR จำนวน 2 ครั้ง กรณีตรวจพบเชื้อให้เข้ารับการรักษาโดยนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา


5. การขอรับใบอนุญาตทำงาน โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดฯ ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร ได้แก่


คำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64 (แบบ บต. 29)
สำเนาบัตรผ่านแดนหรือเอกสารซึ่งอธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด และสำเนาหลักฐานการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
ใบรับรองแพทย์ (6 โรค)
รูปถ่ายขนาด 3 x 4 ซม. จำนวน 3 รูป
สัญญาจ้างและหนังสือรับรองการจ้าง
เอกสารนายจ้าง
หลักฐานการกักตัวครบกำหนดไม่พบเชื้อ 


โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ ฉบับละ 100 บาท ค่าใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ 225 บาท และออกใบอนุญาตทำงานแบบ บต.40 ไม่เกิน 3 เดือน



15/Mar/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา